วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) คืออะไร?

เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) คืออะไร?

“เศรษฐศาสตร์” ประโยคที่หลายคนคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว ซึ่งความเป็นจริงคำว่าเศรษฐศาสตร์ เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนเราในทุกๆด้าน  เพราะเศรษฐศาสตร์คือศาสตร์แห่งการจัดการทรัพยากรอันมีจำกัด เป็นการพิจารณาวิเคราะห์รูปแบบหรือพฤติกรรมมนุษย์ในการบริหารทรัพยากร เพื่อตอบสนองความต้องการที่มีอยู่มากมายและไม่จำกัด
เศรษฐศาสตร์มหภาค
การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ถูกประยุกต์ใช้ครอบคลุมทั้งสังคมในด้าน ธุรกิจ การเงิน และรัฐบาล แม้แต่ทั้งด้านอาชญากรรม การศึกษา ครอบครัว สุขภาพ กฎหมาย การเมือง ศาสนา สถาบันสังคม สงคราม และวิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์จะถูกจำแนกออกตามเนื้อหาเป็นสองสาขาใหญ่ ๆ คือ  เศรษฐศาสตร์จุลภาค และ เศรษฐศาสตร์มหภาค
เศรษฐศาสตร์มหภาค คืออะไร
เศรษฐศาสตร์มหภาค คือเรื่องราวหรือพฤติกรรมทางเศรษฐกิจในระดับกว้าง ซึ่งเป็นเรื่องราวของเศรษฐกิจในระดับส่วนรวมของประเทศ ของภูมิภาค จนถึงระดับโลก เช่น การศึกษาเกี่ยวกับผลผลิตโดยรวมของประเทศ หรือรายได้ประชาชาติ การจ้างงาน ระดับราคา พฤติกรรมการใช้จ่ายอุปโภคบริโภคของครัวเรือน การนำเข้า ส่งออก ดุลการค้า
เศรษฐศาสตร์มหภาค จะสนใจเศรษฐกิจในภาพรวม ตัวอย่างเช่น อุปทานมวลรวมและอุปสงค์มวลรวม การว่างงาน เงินเฟ้อ การเติบโตของเศรษฐกิจ นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง
การเรียนรู้ในเรื่องเศรษฐศาสตร์ มีผลต่อความสำเร็จทั้งในแง่ของการดำเนินธุรกิจ หรือการดำเนินชีวิต หลักเศรษฐศาสตร์ช่วยทำให้เข้าใจสถานการณ์ปัญหาเศรษฐกิจและปรับตัวเข้ากับ สถานการณ์ได้
ช่วยให้สามารถซื้อหรือใช้ บริโภคสินค้าที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบัน

เศรษฐศาสตร์จุลภาค

เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) คืออะไร ?

เศรษฐศาตร์จุลภาค คำว่า จุล หรือ micro แปลว่า เล็กหรือส่วนย่อย
เศรษฐศาสตร์จุลภาค จึงเป็นการศึกษาถึงกลไกที่ทำให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรแต่ละอย่าง แต่ละกิจกรรมของหน่วยเศรษฐกิจในสังคมมนุษย์ เศรษฐศาสตร์จุลภาคจึงเกี่ยวข้องกับเรื่องการผลิต การบริโภค สินค้าและบริการ และการจำแนกแจกจ่ายของแต่ละคน แต่ละกิจการ แต่ละอุตสาหกรรม และแต่ละตลาด
เนื่องจากในปัจจุบันนี้ทรัพยากรบนโลกมีอยู่อย่างจำกัด โดยที่ความต้องการของมนุษย์มีอยู่อย่างไม่จำกัด ทุกๆสังคมไม่ว่าจะเป็นสังคมแบบดั้งเดิมในยุดแรกๆที่ไม่มีความเจริญ หรือสังคมทันสมัยที่มีความเจริญ ต่างก็ประสบปัญหาเศรษฐกิจพื้นฐานเหมือนกัน
             ปัญหาเศรษฐกิจ ได้แก่
  1. จะผลิตอะไร (what) ให้ตรงกับความต้องการของสังคมมากที่สุด โดยดูจากราคาและบริการของสินค้านั้นๆเป็นหลัก หากสินค้าและบริการใดมีคนต้องการมาก ราคาก็จะสูง แต่หากสินค้าและบริการใดไม่มีคนต้องการ ราคาก็จะต่ำตามกลไกตลาด เมื่อผู้ผลิตทราบถึงความต้องการของสินค้าและบริการแล้ว ก็จะมาคำนึงถึงต้นทุนของการผลิตว่าสามารถทำกำไรได้หรือจะขาดทุน
  2. จะผลิตอย่างไร (how) ผู้ผลิตส่วนใหญ่ต้องการผลกำไรของตนเองสูงสุด ซึ่งดูได้จากราคาขายสินค้าและบริการและราคาปัจจัยการผลิต ดังนั้นจึงต้องคำนึงว่าจะผลิตอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด โดยลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำที่สุด และได้ผลผลิตจำนวนมาก
  3. จะผลิตเพื่อใคร (for whom) วิเคราะห์ถึงเป้าหมายของกลุ่มลูกค้า จะมีราคาเป็นเกณฑ์ในการจัดสรรสินค้าและทรัพยากร คือ ผู้ที่มีรายได้มากย่อมมีอำนาจในการซื้อสินค้าและบริการมาก ภายใต้ขีดจำกัดของทรัพยากรทำให้ไม่สามารถสนองตอบความต้องการของผู้บริโภคและ ผู้ผลิตได้ทั้งหมด แต่หากมีคนต้องการมาก ราคาของนั้นๆก็จะสูงขึ้น จนกระทั่งความต้องการซื้อตรงกับความต้องการขาย ทำให้ของนั้นๆถูกจัดสรรไปยังผู้ที่ต้องการและมีรายได้พอที่จะซื้อสินค้า นั้นๆ
ปัญหาทั้ง 3 ข้อนี้ เป็นปัญหาที่แต่ละสังคมหรือแต่ละประเทศ มีวิธีแก้ไขปัญหาที่ต่างกันออกไป ตามลักษณะของระบบเศรษฐกิจของแต่ละสังคมหรือแต่ละประเทศ
ระบบเศรษฐกิจ แบ่งเป็น 3 ระบบ
1. ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม/ทุนนิยม ระบบนี้ให้สิทธิ์เสรีภาพกับเอกชนในการดำเนินธุรกิจ โดยภาครัฐไม่เข้ามาแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจเลย โดยใช้กลไกตลาดเป็นเครื่องมือในการตัดสินปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
  • ข้อดี :   ระบบนี้เป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  ระบบนี้จะขยายตัวเร็ว เพราะทุกคนสามารถเข้ามาในตลาดได้ เกิดการแข่งขันกัน และมีการซื้อ-ขายกันมากมาย
  • ข้อเสีย :   คนที่มีทรัพย์/ปัจจัยการผลิตมาก อาจหาผลประโยชน์โดยเอาเปรียบคู่แข่งขันหรือผู้บริโภคได้ ทำให้เกิดผลเสียด้านการกระจายรายได้และการจัดสรรทรัพยากร
2. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เป็นระบบที่รัฐบาลเข้ามาวางแผน จัดสรรทรัพยากร และความเป็นเจ้าของสินทรัพย์และกิจการที่สำคัญทั้งหมดภายในประเทศ โดยให้เอกชนเป็นเจ้าของกิจการเล็กๆ
  • ข้อดี :   ทุกคนมีความเสมอภาคกัน ทำอะไรเหมือนๆกัน และได้ผลประโยชน์เท่าๆกัน
  • ข้อเสีย :   ขาดเสรีภาพและแรงกระตุ้นในการทำธุรกิจ ส่งผลให้ธุรกิจนั้นๆโตช้า เพราะถึงทำไปก็ได้ประโยชน์เท่ากัน จึงทำให้ไม่มีใครมีความฝัน
3. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (ผสมระหว่างเสรีนิยมกับสังคมนิยม) ให้สิทธิ์เอกชนทำเป็นส่วนใหญ่ โดยรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องกับธุรกิจเพียงบางอย่าง เป็นธุรกิจที่เอกชนไม่อยากทำ ไม่อยากลงทุน เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงและความปลอดภัยภายในประเทศ หรือเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น เหมืองแร่น้ำมัน สาธารณูปโภคที่จำเป็นกับประชาชน โดยประเทศส่วนมากจะเป็นระบบเศรษฐกิจแบบผสม ประเทศที่โตเร็วจะเอียงเอนไปทางเสรีนิยมมากกว่าสังคมนิยม เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น
ในระบบเศรษฐกิจต่างๆจะประกอบด้วยหน่วยเศรษฐกิจย่อยๆ ซึ่ง
หน่วยเศรษฐกิจที่สำคัญ แบ่งเป็น 3 หน่วย
  1. หน่วยครัวเรือน มีหน้าที่  ขายปัจจัยการผลิตให้แก่หน่วยธุรกิจ ซื้อสินค้าและบริการจากหน่วยธุรกิจ
  2. หน่วยธุรกิจ มีหน้าที่ ซื้อปัจจัยการผลิตจากครัวเรือน ขายสินค้าและบริการให้แก่ครัวเรือนและครัวเรือน
  3. รัฐบาล มีหน้าที่   ปกครองและบริหารประเทศให้คนในประเทศมีความสุข โดยนำเงินภาษีมาใช้ในการบริหาร ประเทศ ซึ่งภาษีนี้ก็มาจากการเก็บจากหน่วยครัวเรือนและหน่วยธุรกิจ
ในที่นี้จะแสดงแผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยครัวเรือนและหน่วยธุรกิจ โดยตัดภาครัฐบาลออกเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ
จุลภาค

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ” เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น “

ในบทนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของคำว่า เศรษฐศาสตร์ กันก่อนนะคะ เศรษฐศาสตร์ หมายถึง ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการเลือกหนทางในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อผลิตสินค้าและบริการให้เกิดประโยชน์สูงสุด มาตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด
คำสำคัญในความหมายขอเศรษฐศาสตร์ที่ต้องทราบ
1.ทางเลือก/การเลือก เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนของทรัพยาการ ทุกสังคมจึงเผชิญกับการกำหนดทางเลือก คือ จะเลือกผลิตอะไร ใช้ปัจจัยการผลิตอะไร มากน้อยเพียงใด จึงจะได้สินค้าและบริการเป็นจำนวนมากและคุณภาพดีเป็นที่ถูกใจของผู้บริโภค เมื่อผลิตได้แล้วจะจำแนกแจกจ่ายผลผลิตอย่างไร จะขายให้ใคร ที่ไหน มากน้อยเพียงใด
2.ทรัพยากรการผลิต (ปัจจัยการผลิต) แบ่งเป็น 4 ประเภท
  • ที่ดิน คือ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมนุษย์ไม่สารถสร้างขึ้นเองได้ ได้แก่ ที่ดิน ป่าไม้ แร่ธาตุ น้ำ อากาศ แสงอาทิตย์ และอื่นๆ ผลตอบแทนจากการเป็นเจ้าของที่ดิน คือ ค่าเช่า
  • แรงงาน คือ ทรัพยากรมนุษย์นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็น การใช้แรงงาน ความคิด ความชำนาญของมนุษย์ ผลตอบแทนจากการใช้แรงงาน คือ ค่าจ้าง
  • ทุน คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และนำไปใช้ร่วมกับปัจจัยการผลิตเพื่อก่อให้เกิดสินค้าและบริการ เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ และอื่นๆ ผลตอบแทนจากการเป็นเจ้าของสินค้าทุน คือ ดอกเบี้ย
  • ผู้ประกอบการ คือ ผู้ที่นำปัจจัยการผลิตทั้ง3ข้างต้น มาทำการผลิตสินค้าและบริการ ผลตอบแทนของผู้ประกอบการ คือ กำไร
3.การมีอยู่อย่างจำกัด ทรัพยากรบนโลกมีอยู่อย่างจำกัด เมื่อเรานำไปผลิตสินค้าและบริการ เราก็จะได้สินค้าและบริการที่มีอยู่อย่างจำกัดด้วยนั่นเอง เช่น ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตข้าว มี พท.ในการผลิตข้าวเป็นอันดับ5ของโลก แม้ประเทศไทยจะมีข้าวเยอะที่สุดในโลก แต่ข้าวในประเทศไทยก็มีอยู่อย่างจำกัด ประเทศไทยไม่สามารถผลิตได้เกินกว่ากำลังผลิตที่มีอยู่ เนื่องจาก พื้นที่ในประเทศไทยมีอยู่อย่างจำกัดนั่นเองค่ะ
4.สินค้า/บริการ มี 2 ประเภท
  • เศรษฐทรัพย์ คือ การจ่ายเงินเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าและบริการ อาจจะไม่ต้องจ่ายเงิน เช่นการได้รับบริจาค แต่สินค้านั้นก็มีมูลค่าในตัวมันเอง มีราคานั่นเองค่ะ
  • - สินค้าเอกชน มีสิทธิ์เป็นเจ้าของ และครอบครองเพียงผู้เดียว
  • - สินค้าสาธารณะ ทุกคนมีสิทธิ์ใช้ประโยชน์จากสินค้าดังกล่าวได้ เช่น สวนสาธารณะ ถนน รถเมล์
  • สินค้าไร้ราคา ( ไม่ต้องจ่ายเงินให้ได้มาซึ่งสินค้าและบริการ ) คือ สินค้าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ทะเล บ่อน้ำ อากาศ สายฝน และอื่นๆ
5.ความต้องการที่ไม่จำกัด มนุษย์มีความต้องการที่ไม่จำกัด เมื่อได้สิ่งหนึ่งแล้ว ก็จะได้สิ่งอื่นๆเพิ่มขึ้นไป และ จากทฎษฎีของมาสโลว์ มนุษย์มีความต้องการอยู่ 5 ขั้น
ทฤษฎี5ขั้นมาสโลว์

การกู้เงิน เพื่อการลงทุน

การกู้เงิน เพื่อการลงทุน

เงินทุน คือปัจจัยสำคัญสำหรับการลงทุนในธุรกิจทุกประเภท เริ่มตั้งแต่การก่อตั้งกิจการและระหว่างดำเนินกิจการ เงินทุนทำให้องค์กรธุรกิจขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว เพราะสามารถทำให้กำลังการผลิตเพิ่มมากขั้น ทำให้การซื้อขายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากเงินทุนจะมีความสำคัญต่อองค์กรธุรกิจ การกู้เงินเพื่อการลงทุน ก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักธุรกิจเช่นเดียวกัน
การกู้เงิน เพื่อการลงทุน
การกู้เงินหรือการขอสินเชื่อเพื่อการลงทุนจากสถาบันการเงินต่างๆ คือแนวทางบริหารการเงินที่ องค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ใช้เป็นหลักปฏิบัติเมื่อมีความประสงค์ที่จะขยายธุรกิจ หรือเพิ่มกำลังการผลิต ซึ่งการกู้เงินหรือการขอสินเชื่อสามารถทำได้ 3 แนวทาง ได้แก่
1.การกู้เงินเพื่อการลงทุนจากสถาบันการเงิน ประเภทธนาคาร
สถาบันการเงินประเภทธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกลางหรือธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand) และ ธนาคารพาณิชย์ (Commercial bank) ธนาคารพาณิชย์นับเป็นสถาบันการเงินภาคเอกชนที่มีความสำคัญที่สุด เพราะมีปริมาณเงินฝากและจำนวนเงินให้กู้สูงสุดเมื่อเทียบกับสถาบันการเงิน อื่นๆจึงเป็น สถาบันการเงินประเภทธนาคารที่นักธุรกิจหรือเจ้าของกิจการยื่นขอสินเชื่อ เพื่อการลงทุนมากที่สุด
การกู้เงิน
2.การกู้เงินเพื่อการลงทุนจากสถาบันการเงิน ประเภทเฉพาะทาง
สถาบันการเงินประเภทเฉพาะทางหรือเฉพาะอย่างได้แก่ ธนาคารออมสิน (The Government Savings Bank) เป็นธนาคารที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ. 2489 นอกจากธนาคารออมสินระดมเงินออมจากประชาชนมาลงทุน เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศ เช่น ซื้อตั๋วเงินคลังและพันธบัตรรัฐบาลให้ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจและเอกชนกู้ ยืม
3.การกู้เงินเพื่อการลงทุนจากสถาบันการเงิน ที่ไม่ใช่ธนาคาร
สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารได้แก่ บริษัทเงินทุน (finance company) กองทุนรวม (mutual fund) สหกรณ์การเกษตร และ สหกรณ์ออมทรัพย์
การกู้เงินเพื่อการลงทุนหรือการขอสินเชื่อจากสถาบันการ เงินประเภทต่างๆ สิ่งที่นักธุรกิจหรือเจ้าของกิจการควรพิจารณาก็คือการยื่นขอสินเชื่อจาก สถาบันการเงินต่างๆ ควรเลือกสถาบันการเงินที่เหมาะสมกับรูปแบบการลงทุนในกิจการของตนเองเป็น สำคัญ

อัตราส่วนทางการเงิน ( financial ratio ) หมายถึงอะไร?

อัตราส่วนทางการเงิน ( financial ratio ) หมายถึงอะไร?

อัตราส่วนทางการเงิน (financial ratios) หมายถึง ตัวเลขที่วัดฐานะการเงินและเป็นตัวบ่งบอกจุดอ่อนจุดแข็งในการสร้างผลกำไรให้ กับธุรกิจ ตลอดทั้งเป็นตัวชี้วัดความสามารถในการบริหารงานว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด โดยการนำตัวเลขที่มีอยู่ในงบการเงินมาหาอัตราส่วนเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ
ประเภทของอัตราส่วนทางการเงิน
  1. อัตราส่วนแสดงสภาพคล่อง (Liquidity Ratios) ใช้สำหรับวัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นขององค์กรธุรกิจ หรือเมื่อหนี้สินที่มีอยู่นั้นถึงกำหนดชำระ
  2. อัตราส่วนหนี้สิน (Debtor Leverage Ratios) เป็นเครื่องมือวัดความมีส่วนร่วมในการจัดการบริหารเงินโดยเจ้าของกิจการเปรียบเทียบกับการการเงินโดยการกู้ยืมจากภายนอก
  3. อัตราส่วนความสามารถทำกำไร (Profitability Ratios) เป็นเครื่องวัดความสามารถในการบริหารงานของบริษัท ซึ่งจะแสดงในรูปอัตราผลตอบแทนจากการขาย และอัตราผลตอบแทนจากเงินลงทุน
  4. อัตราส่วนแสดงความสามารถในการดำเนินงาน (Activity Ratios or Efficiency Ratios) ในเป็นเครื่องวัดความสามารถในการบริหารเงินล่วงทุนว่า ธุรกิจได้ลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพียงใด
ประโยชน์ของการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน
  1. การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน ทำให้ทราบถึงประสิทธิภาพในการบริหารงานของกิจการ
  2. การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน สะท้อนให้เห็นถึงจุดแข็งจุดอ่อนในการดำเนินงานตามแผนของกิจการ
  3. สามารถนำข้อมูลของกิจการที่ได้จากการวิเคราะห์อัตราส่วนการเงิน มาปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานของกิจการให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ยิ่งขึ้น
สรุป การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินงานขององค์กร เพราะทำให้ผู้บริหารทราบถึงปัญหาและสามารถนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกับผลการ ดำเนินงานที่ผ่านมา เพื่อนำมาวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไข หรือพัฒนาการดำเนินงานขององค์กรให้ได้ผลการดำเนินงานตรงตามแผนงานหรือเป้า หมายที่กำหนดไว้

ระบบการเงิน และ การบริหารการเงิน

ระบบการเงิน และ การบริหารการเงิน

“เงิน” เป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เพราะเงินเป็นตัวกำหนดค่าในการแลกเปลี่ยนกับ สินค้าและบริการ เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน เป็นหน่วยวัดมูลค่า และการเงินยังมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับภาวะเศรษฐกิจ การจัดการทางการเงินเป็นเรื่องที่สำคัญต่อระบบการเงินและการบริหารการเงินของทุก องค์กร ทั้งองค์กรภาครัฐและองค์กรธุรกิจ
ระบบการเงิน และการบริหารการเงิน
ความสำคัญของระบบการเงิน
โครงสร้างการบริหารงานของทุกองค์กรจะต้องมีการวางระบบการเงินและการ บริหารการเงินไว้ เป็นหลักสำคัญ เพราะถือว่าการเงินเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการหรือส่งผลต่อธุรกิจ ต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้นผู้บริหารจึงควรที่จะต้องมีความรู้ด้านการเงินอย่างเพียงพอ เพื่อที่จะสามารถตัดสินใจในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเงินได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
ลักษณะระบบการเงินและการบริหาร
การเงิน คือการบริหารเกี่ยวกับการหมุนเวียนของเงินที่มีอยู่หลายรูปแบบ และรวมถึงวิเคราะห์การหมุนเวียนของเงินที่มีผลต่อองค์กรทั้งในด้านดีหรือมี ผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์กร เพื่อนำมาหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงหรือพัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งๆขึ้นไป รูปแบบการบริหารเงินหมุนเวียน เช่น การบริหารเงินสด
ลักษณะการบริหารเงินสด
การบริหารเงินสด คือลักษณะการบริหารเงินหมุนเวียนที่เป็นเงินสด ซึ่งมีทั้งกระแสเงินออก และกระแสเงินเข้า ตัวอย่าง เช่น
1.กระแสเงินเข้า ได้แก่เงินที่ได้รับจากการดำเนินงาน เงินขายสินค้า รายได้จากค่าตอบแทน เงินส่วนลด หรือดอกเบี้ยเงินได้
2.กระแสเงินออก เป็นเงินสดที่อยู่ในส่วนของค่าใช้จ่าย ได้แก่ เงินเดือน เงินโบนัส ค่าซ่อมบำรุง ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด ค่าขนส่ง หรือเงินค่าเสียภาษี
การจัดการทางเงินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในระบบการเงินและการบริหารการเงิน จะเกี่ยวข้องกับ 3 เรื่องหลักๆได้แก่ การเงินและตลาดทุน ซึ่งจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของการลงทุนและสถาบันการเงินต่างๆ เรื่องที่สองได้แก่ การลงทุน เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์และการวิเคราะห์การลงทุน และเรื่องสุดท้ายได้แก่ การจัดการทางการเงินซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหารการเงินนั้น เอง

งบการเงิน คือ (financial Statement) ?

งบการเงิน คือ (financial Statement) ?

สำหรับผู้ประกอบการ ระบบบัญชีและงบการเงินเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเรียนรู้ไว้บ้างเพราะนอกจากทำให้ รู้ผลประกอบการของธุรกิจหรือกิจการของตนเองแล้ว การศึกษาฐานะการเงินยังสามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อประเมินสภาพคล่องของกิจการ หรือประเมินคุณภาพการดำเนินงานด้านการเงินได้ด้วย สิ่งแรกที่ควรศึกษาเรียนรู้หรือเข้าใจความหมายก็คือเรื่องของงบการเงิน
งบการเงิน คืออะไร
  งบการเงิน (Financial Statement) เป็นรายงานข้อมูลทางการเงินของกิจการที่ได้จัดทำหรือจดบันทึกไว้ในรอบระยะ เวลาหนึ่ง ที่สามารถแสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินการ ฐานะการเงินหรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการในรอบระยะเวลานั้นๆ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้กิจการต้องนําเสนองบการเงินอย่างน้อยปีละครั้ง
ประโยชน์ของงบการเงิน
งบการเงินจัดทําขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดําเนินงาน และการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินหลายกลุ่ม เช่น เจ้าของกิจการ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายการตลาด ในการนําไปใช้ตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจในอนาคต
ผู้ใช้งบการเงิน

งบการเงินไม่ใช่เพียงเจ้าของธุรกิจหรือเจ้าของกิจการเท่านั้น ที่ต้องทราบรายละเอียดต่างๆจากงบการเงิน บุคคลที่ต้องการนำข้อมูลในงบการเงินไปใช่ประโยชน์อาจแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
  1.            บุคคลภายนอก ได้แก่ ผู้ลงทุน ลูกค้า เจ้าหนี้ รัฐบาล และผู้สนใจอื่นๆ
  2.            บุคคลภายใน ได้แก่ เจ้าของกิจการ ผู้บริหารกิจการ ลูกจ้างและพนักงาน
วัตถุประสงค์ในการใช้ข้อมูลจากงบการเงิน
บุคคลภายนอกและบุคคลภายในต้องการใช้ข้อมูลจากงบการเงิน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกัน ดังนี้
  • ผู้ลงทุน ผู้ลงทุนทั่วไปจะใช้ข้อมูลทางบัญชีเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าควรจะลงทุนในกิจการนั้นหรือไม่
  • ลูกค้า จะใช้ข้อมูลทางบัญชีเพื่อดูถึงความมั่นคงน่าเชื่อถือของกิจการ และการกําหนดราคาของสินค้าหรือบริการว่ามีความเหมาะสมหรือไม่
  • เจ้าหนี้ ใช้ข้อมูลทางบัญชีเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาให้สินเชื่อ
  • รัฐบาล ใช้ข้อมูลทางบัญชีเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรและการควบคุมธุรกิจในด้านต่างๆ
  • เจ้าของกิจการ จะใช้ข้อมูลทางบัญชีเพื่อประกอบการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินทุน
  • ลูกจ้างและพนักงาน จะใช้ข้อมูลทางบัญชีเพื่อดูถึงความมั่นคงของกิจการ และใช้ในการเรียกร้องค่าจ้างและสวัสดิการตามความเหมาะสม
รายละเอียดเกี่ยวกับงบการเงินที่กล่าวมา เป็นความรู้ที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจ และทำให้เห็นความสำคัญของงบการเงินที่จำเป็นสำหรับกิจการมากกว่า การจัดทำข้อมูลเพื่อเสียภาษีให้แก่รัฐบาลเท่านั้น

การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)

การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)

การบริหารงานภายในองค์กรทั้งภาครัฐและองค์กรธุรกิจ มีปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกเข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินงานเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะองค์กรธุรกิจจำเป็นที่จะต้องชิงความได้เปรียบจากคู่แข่งขัน ดังนั้นผู้บริหารหรือผู้ประกอบการจึงต้องนำวิธีการหรือกลยุทธ์ต่างๆเข้ามา ใช้ในกระบวนการบริหาร เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับสภาวการณ์ที่เกิดขึ้น การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นวิธีที่นิยมนำมาใช้ในองค์กรมากที่สุด
การจัดการเชิงกลยุทธ์
การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)
ความหมาย
การจัดการเชิงกลยุทธ์ หรือ Strategic Management หมายถึง การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบจากวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่ผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์และประเมินสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก องค์กร เพื่อวางแนวทางการดำเนินงานให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ และก่อให้เกิดความได้เปรียบจากคู่แข่งขันทางธุรกิจ
การจัดการเชิงกลยุทธ์ สำคัญอย่างไร

  1. เป็นการกำหนดกรอบหรือทิศทางการทำงานขององค์กรให้ชัดเจน โดยการเขียนวัตถุประสงค์ของ องค์กรไว้อย่างเป็นระบบ ซึ่งจะทำให้เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างเหมาะสม
  2. ช่วยให้ผู้บริหารปรับตัวตามสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ และสามารถปรับทิศทางการ ดำเนินงานได้สอดคล้องกับสภาวะความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
  3. สร้างความพร้อมให้กับองค์กร การจัดการเชิงกลยุทธ์ทำให้องค์กร มีการวิเคราะห์และประเมิน ปัจจัยต่างๆภายในองค์กรอย่างสม่ำเสมอ เป็นการพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมในการรับกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่ อาจเกิดขึ้นได้
  4. ช่วยสร้างประสิทธิภาพและศักยภาพด้านการแข่งขันให้กับองค์กร เสริมสร้างการพัฒนาขีดความสามารถส่งผลให้เกิดความได้เปรียบทางด้านการแข่ง ขัน
  5. ช่วยให้การทำงานสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน เนื่องจากมีการกำหนดกลยุทธ์และการควบคุมตรวจสอบไว้อย่างชัดเจน
  6. ทำให้องค์กรมีมุมมองการบริหารอย่างครอบคลุม เนื่องจากการบริหารเชิงกลยุทธ์ให้ความสำคัญกับปัจจัยต่างๆที่มีผลกระทบต่อ การบริหารองค์กรทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก
  โดยสรุป การจัดการเชิงกลยุทธ์ถือเป็น เครื่องมือสำคัญสำหรับผู้บริหารหรือผู้ประกอบการ ที่จะนำไปสู่การเพิ่มโอกาสความสำเร็จ เพราะเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์และประเมินสภาพการณ์ในระยะยาวขององค์กร เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในการดำเนินงานที่สามารถประเมินและปรับเปลี่ยนภายใน แต่กระบวนการ ให้เกิดความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกได้ตลอดเวลา

รูปแบบการจัดการความรู้ กลยุทธ์สู่ความสำเร็จ

รูปแบบการจัดการความรู้ กลยุทธ์สู่ความสำเร็จ

การจัดการความรู้ (Knowledge Management) หรือ KM คือการสร้าง การจัดระเบียบ หรือการรวบรวมและแลกเปลี่ยนประยุกต์ใช้ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร เช่นความรู้จากตัวบุคคล ความรู้หรือข้อมูลจากเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้เกิดประโยชน์และเกิดการเรียนรู้ภายในองค์กร ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในการแข่งขัน รูปแบบการจัดการความรู้จึงเปรียบเสมือนกลยุทธ์สู่ความสำเร็จขององค์กร
หลักสำคัญของการจัดการความรู้
หลักสำคัญของการจัดการความรู้ ก็คือการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวคนภายในองค์กรมาจัดเป็นกระบวนการใน หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 3 ประการไปพร้อมๆกัน ได้แก่
  1. เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของงาน
  2. เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาคน
  3. เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
รูปแบบหรือกระบวนการจัดการความรู้

  1. การบ่งชี้ความรู้ องค์กรทุกองค์กรต้องมีเป้าหมายในการดำเนินงาน การทำธุรกิจก็เช่นกันและเพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย จึงจำเป็นที่จะต้องพิจารณาว่าในองค์กรของเรามีความรู้อะไร เป็นความรู้ลักษณะใด อยู่ที่ใคร เป็นต้น
  2. การแสวงหาความรู้ เป็นการสร้างความรู้ขึ้นมาใหม่หรือแสวงหาความรู้ทั้งจากภายนอก และที่มีอยู่แล้วภายในองค์กร
  3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการจัดวางโครงสร้างความรู้เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการนำความรู้มาใช้อย่างเป็นระบบ
  4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เป็นการปรับปรุงเนื้อหาความรู้ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
  5. การเข้าถึงความรู้ คือขั้นตอนที่ทำให้เข้าถึงความรู้ได้ง่าย เช่น การประชาสัมพันธ์
  6. การแบ่งปันความรู้ เช่น ทำเป็นเอกสาร หรือจัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้
  7. การเรียนรู้ เช่น การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ทำให้เกิดประสบการณ์ใหม่ๆ
รูปแบบการจัดการความรู้ คือกลยุทธ์สู่ความสำเร็จในการทำธุรกิจ เพราะการจัดการความรู้หรือ การประมวลผลข้อมูลความรู้จากบุคคลภายในองค์กร จากความคิดและประสบการณ์ของบุคคล มาจัดวางไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อนำความรู้เหล่านั้นมาประยุกต์หรือปรับใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อ องค์กร สำหรับการทำธุรกิจ การจัดการความรู้ เปรียบเหมือนเครื่องมือที่จะช่วยทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ วางไว้ได้เร็วขึ้น

การจัดการ หมายถึง ( Management) อะไร?

การจัดการ หมายถึง ( Management) อะไร?

“การจัดการ” เป็นคำที่นิยมใช้เกี่ยวกับการทำธุรกิจซึ่งต่างจากคำว่า “การบริหาร” ที่หมายถึงการ  ดำเนินงานหรือปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐในบางครั้งอาจใช้คำว่า การบริหารจัดการ สำหรับคำว่าการจัดการส่วนใหญ่นิยมใช้ในภาคธุรกิจที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวง หาผลกำไรเป็นหลัก คำว่าการจัดการหมายถึง อะไรและมีความสำคัญอย่างไรต่อองค์กรธุรกิจ im2market มีคำตอบ
การจัดการ หมายถึง ?
การจัดการ หรือ Management หมายถึง กระบวนการทำงานหรือกิจกรรมที่กลุ่มบุคคลในองค์กร ร่วมกันทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามแนวทางที่กำหนดไว้ 5 ขั้นตอนประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การบังคับบัญชาสั่งการ การประสานงาน และการควบคุม
การจัดการ หมายถึง
ความสำคัญของการจัดการ
กระบวนการทำงานหรือการจัดการมีความสำคัญต่อองค์กรธุรกิจ เพราะทุกขั้นตอนมีผลต่อ ความสำเร็จที่จะทำให้เกิดผลกำไรและช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถดำเนินการต่อไป ได้ นอกจากนี้กระบวนการจัดการยังเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ต้องรู้จักนำมา ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เนื่องจากแต่ละ องค์กรมีปัจจัยความสำเร็จที่แตกต่างกัน

กระบวนการในการจัดการ
  1. การวางแผน การวางแผนหรือ Planning หมายถึงการพิจารณากำหนดแนวทางการทำงานให้ บรรลุเป้าหมาย โดยเกิดจากการใช้ดุลพินิจคาดการณ์ล่วงหน้าเพื่อเป็นแนวทางการการทำงานใน อนาคต
  2. การจัดองค์การ การจัดองค์การหรือ Organizing หมายถึง การจัดระเบียบหรือโครงสร้างของการ ทำงานภายในองค์กรให้เป็นระบบระเบียบและอยู่ในส่วนประกอบที่เหมาะสม เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น
  3. การบังคับบัญชาสั่งการ หรือ Commanding หมายถึง ภาระหน้าที่ของผู้บริหารในการใช้ความสามารถชักจูงหรือหว่านล้อมผู้ใต้บังคับ บัญชาให้ปฏิบัติงานตามคำสั่ง จนสามารถทำให้องค์กรบรรลุผลสำเร็จได้
  4. การประสานงาน หรือ Coordinating หมายถึง การจัดให้ทรัพยากรบุคคลภายในองค์กรทำงานประสานสัมพันธ์สอดคล้องเป็นน้ำหนึ่ง ใจเดียวกัน เพื่อให้การดำเนินงานราบรื่นและบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. การควบคุม หรือ Controlling หมายถึง กระบวนการทำงานเริ่มตั้งแต่การกำหนดมาตรฐาน การแก้ไขการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาตลอดจนการดำเนินงานตามแผน และการประเมินแผนเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
โดยสรุป การจัดการ (Management) ก็คือกระบวนการต่างๆในการทำให้องค์กรธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยมี 5 ขั้นตอนตั้งแต่การวางแผน การจัดการองค์การ การบังคับบัญชาสั่งการ การประสานงานและการควบคุม เป็นเครื่องมือสำคัญ โดยมีทักษะของผู้บริหารหรือเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จ นั้นเอง

การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management)

การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management)

การบริหารงานหรือการบริหารองค์กร มนุษย์ถือเป็นทรัพยากรสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อน กระบวนการทำงานให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ดังนั้นการการบริหารงานบุคคลเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ผู้บริหารหรือผู้ประกอบการจะต้องมีความรู้ความเข้าใจก่อนว่า การจัดการทรัพยากรมนุษย์ คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรต่อการบริหารองค์กร
การจัดการทรัพยากรมนุษย์
การจัดการทรัพยากรมนุษย์ คืออะไร
การจัดการทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง กระบวนการจัดการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคน การคัดเลือก บุคคลเข้าทำงาน การจัดวางตำแหน่งของบุคคลให้เหมาะสมกับงานตลอดจนการจัดสวัสดิการ การจ่ายเงินเดือนหรือค่าตอบแทน การพิจารณาบทบาทหน้าที่และการควบคุมการทำงานของบุคลากรให้ทำงานอย่างเต็ม ศักยภาพ ซึ่งกระบวนการแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
  1. ระยะการคัดเลือกหรือได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์
  2. ระยะการควบคุมดูแลและรักษาทรัพยากรมนุษย์ ระหว่างปฏิบัติงานในองค์กร
  3. ระยะสุดท้าย คือการพ้นจากงาน การจัดสวัสดิการตอบแทนหลังเกษียณหรือการพ้นจากงานในกรณีอื่นๆเช่นการเลิกจ้าง

ความสำคัญของการจัดการทรัพยากรมนุษย์
การจัดการทรัพยากรมนุษย์ มีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการบริหารองค์กร เพราะเป็นขั้นตอนที่ได้คัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถตรงกับตำแหน่ง หน้าที่และเหมาะสมกับงาน ทำให้การทำงานมีคุณภาพผลงานที่ออกมาได้ทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล การจัดการทรัพยากรมนุษย์ยังช่วยรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพในการทำงานให้อยู่ กับองค์กร โดยมีการพัฒนาจัดสวัสดิการให้กับพนักงาน มีการประเมินผลการทำงาน วิเคราะห์การทำงานเพื่อจัดสวัสดิการให้แก่บุคคลอย่างเหมาะสม
การจัดการทรัพยากรมนุษย์ จึงเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญต่อการบริหารองค์กร นอกจากองค์กรต้องจัดให้มีสวัสดิการ มีการวิเคราะห์ประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรแล้ว การสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างทรัพยากรบุคคลก็มีความสำคัญต่อความสำเร็จในการ บริหารงานหรือบริหารคนซึ่งจะส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กรด้วยเช่นกัน

SEO คืออะไร

SEO คืออะไร
นักธุรกิจออนไลน์ทุกคนต้องเคยได้ยินคำว่า “การทำ SEO” แต่เชื่อว่าหลายคนไม่ทราบหรือไม่เข้าใจ    ว่า SEO คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไรต่อการทำธุรกิจออนไลน์ซึ่งนักธุรกิจออนไลน์ที่ สร้างเว็บไซต์หรือเปิดร้านค้าออนไลน์ทุกรูปแบบต้องมีการปรับแต่งเว็บไซต์และ ทำการ
โปรโมทเพื่อให้เว็บเป็นที่รู้จักของกลุ่มลูกค้าและทำการค้นหาได้ง่ายแต่อาจ ไม่ทราบว่าวิธีการเหล่านั้นคือส่วนหนึ่งในการทำ SEO เพื่อให้เป็น   ประโยชน์กับนักธุรกิจออนไลน์มือใหม่และผู้ที่สนใจก่อนที่จะศึกษาว่าการทำ SEO มีความสำคัญอย่างไรต่อการทำธุรกิจออนไลน์เรามาดูกันก่อนว่า SEO คืออะไรseoคืออะไร
คำว่า “ SEO ” ย่อมาจากคำว่า  Search Engine Optimization สำหรับความหมายหากอธิบายให้เข้าใจง่ายๆก็คือ S ย่อมาจากคำว่า Search ซึ่งแปลว่าการค้นหานักท่องโลกออนไลน์ส่วนใหญ่เมื่อต้องการศึกษาหรือค้นหา เรื่องราวที่สนใจจากอินเทอร์เน็ตก็มักจะใช้คำว่า “เสิร์ชหาข้อมูล” ส่วนอักษรตัว E ย่อมาจากคำว่า Engine แปลว่าเครื่องมือหรือโปรแกรม และอักษรตัว O ย่อมาจากคำว่า Optimization แปลว่า การเพิ่ม ประสิทธิภาพหรือทำให้เหมาะที่สุด เมื่อแปลโดยรวมจึงหมายถึงการทำให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมที่สุดสำหรับ โปรแกรมการค้นหา สรุปความหมายของคำว่า SEO ก็คือเป็นการจัดทำปรับปรุงเว็บไซต์หรือเว็บเพจของเราให้ไปทำอันดับบนหน้าค้น หาโดยเน้นให้ทำอันดับอยู่ที่หน้าแรกของ Google เพื่อให้คนที่ต้องการหาข้อมูลหรือลูกค้าที่สนใจสินค้าจากเว็บไซต์หรือเว็บเพ จค้นหาเราได้ง่ายขึ้นจาก Keyword (คำที่ใช้ค้นหา)
การทำ SEO มีความสำคัญอย่างไรต่อการทำธุรกิจออนไลน์ เมื่อทราบแล้วว่า SEO คืออะไร เหตุผล ที่ต้องทำ SEO ก็เพื่อให้มีคนเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์หรือเว็บเพจของเรามากๆ ตัวอย่างเช่น เราเปิดร้านขายสินค้าจากตลาดโรงเกลือออนไลน์หากไม่ทำให้เว็บไซต์หรือเว็บเพ จของเราทำอันดับอยู่ที่หน้าแรกๆของ Google  แต่ไปติดอยู่ที่ลำดับที่ 20 เมื่อเสิร์ชคำว่า “ตลาดโรงเกลือออนไลน์”ก็จะทำให้ร้านที่จำหน่ายสินค้าจากโรงเกลือเช่นกันแต่ ทำ SEO จนติดอันดับอยู่ที่หน้าแรกๆได้รับความสนใจจากลูกค้าเพราะคนที่ค้นหา ส่วนใหญ่จะไม่คลิกไปที่หน้าหลังแต่จะดูเพียงหน้าแรกหรือหน้าสองเท่านั้น จุดอ่อนของธุรกิจออนไลน์ก็คือเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันกันสูง ดังนั้นการทำ SEO จึงถือเป็นเครื่องมือหรือกลยุทธ์อย่างหนึ่งที่จะทำให้ธุรกิจออนไลน์ประสบ ความสำเร็จ
ปัจจุบันการทำ SEO ไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากเพราะมีบริษัทรับทำ SEO เกิดขึ้นมากมายซึ่งเหมาะสำหรับนักธุรกิจออนไลน์มือใหม่ที่ยังไม่มี ประสบการณ์ในการโปรโมทหรือทำให้เว็บไซต์ติดอันดับอยู่ที่หน้าแรกๆถึงแม้จะมี ค่าใช้จ่ายแต่เมื่อเปรียบเทียบกับประโยชน์ที่ได้รับก็ยังถือว่าคุ้มค่า นอกจากนั้นนักธุรกิจออนไลน์ยังต้องศึกษาให้รอบรู้ในทุกๆด้านเพื่อทำอันดับ เว็บให้ติดอันดับ Google อย่างยั่งยืนซึ่งไม่ใช่เรื่องที่เกินความสามารถของนักธุรกิจออนไลน์มืออาชีพ

การทำธุรกิจ กับ 5 แนวความคิดเพิ่อการเริ่มต้น

การทำธุรกิจ กับ 5 แนวความคิดเพิ่อการเริ่มต้น

สำหรับใครที่อยากจะเริ่มต้นการทำธุรกิจจะมีเทคนิคและแนวทางการเริ่มต้น วางแผนอย่างไร?   สำหรับรูปแบบในการเริ่มต้นทำธุรกิจนั้นเราขอแนะนำเทคนิคเริ่มต้นด้วยการ ดำเนินการ 5 เทคนิคที่เราจะแนะนำกันในวันนี้สำหรับใครที่คิดอยากจะเริ่มต้นธุรกิจ เอา 5 เทคนิคนี้ไปใช้รับรองได้ว่าท่านนั้นจะสามารถสร้างธุรกิจที่เป็นของท่านเอง และจะลดปัญหาที่จะตามมากับธุรกิจของท่าได้อย่างแน่นอน
การทำธุรกิจ
  • เทคนิคแรก คือ เริ่มต้นจากการวางแผนโครงสร้างของธุรกิจที่จะทำ ในกระดาษ A4 ก่อนเกี่ยวกับการทำธุรกิจหรือโปรเจคที่ท่านนั้นมีแพลนจะสร้างขึ้น พร้อมทั้ง ข้อดีข้อเสีย เงินลงทุน   ผลลัพธ์ในอนาคต รายได้ เป้าหมาย   ความน่าจะเป็น และอุปสรรคต่างๆมากมาย หรือที่มักนิยมใช้กันก็คือ SWOT คืออะไร?  ( ทฤษฏีววิเคราะห์ SWOT )
  • เทคนิคที่สอง คือ เริ่มต้นศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการทำการตลาดก่อนว่ามีเทคนิคไหนที่พอจะเจาะ กลุ่มการตลาดได้บ้าง และเราต้องการขายสินค้าเราให้คนแบบใดประเภทไหน อายุ เพศ และถ้าหากขายไม่ได้จะแก้ปัญหาอย่างไร?
  • เทคนิคที่สาม คือ ตรวจสอบรายละเอียดทั้งหมดที่เรานั้นร่างโครงสร้างมา และรวบรวม ข้อมูลมาอีกที เช็คให้ดีว่ามีจุดบกพร่องหรือไม่   และวางแผนเผื่อไว้กรณีที่คุณนั้น ลืมจตรงจุดใดหรือผิดพลาดจุดไหนจะแก้ปัญหาอย่างไร
  • เทคนิคที่สี่ คือ เริ่มต้นตรวจสอบเงินลงทุน และ คำนวณเงินลงทุนต่างๆพร้อมทั้งรูปแบบการเริ่มต้นลงทุน อาธิเช่นเราจะสร้างแบรนด์ครีมต้องคำนวณและ วางแผนการออกแบบแพ็จเก็จ และ Product ต่างๆ
  • เทคนิคที่ห้า คือ เริ่มต้นจริง เริ่มต้นจากการเจาะกลุ่มการตลาดตามแบบแผนที่เราวางไว้ แนะนำให้มีแบบแผนการทำการตลาดด้วย กัน 3 – 4 แผน ด้วยกันเผื่อพลาดแผนใดแผนนึงจะได้มีแผนต่อมารองรับและก็จะได้แก้ปัญหาต้นสาย ปลายเหตุที่จะเกิดปัญหาการขาดทุนในอนาคตได้อย่างถูกต้องและลงตัวไม่ต้อง ตามหาต้นเหตุของปัญหาให้ยุ่งยากเพราะเราได้วางแผนไว้เรียบร้อยแล้ว

การวิเคราะห์ SWOT หลักการสำคัญของการเริ่มต้นธุกิจ

การวิเคราะห์ SWOT หลักการสำคัญของการเริ่มต้นธุกิจ

การบริหารองค์กร หลักสำคัญที่จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ จำเป็นที่จะต้องนำเครื่องมือหรือกลยุทธ์เข้ามาช่วยในการบริหาร และกลยุทธ์ที่องค์กรนำมาใช้ต้องมีกระบวนการที่เหมาะสมกับสถานภาพหรือสภาวะ ขององค์กรนั้นๆด้วย วิธีการและเทคนิคในการวิเคราะห์สถานภาพหรือสภาวะขององค์กร เพื่อนำมากำหนดกลยุทธ์ให้เหมาะสมสอดคล้องกับการบริหารมีหลายวิธี ซึ่งกระบวนการวิเคราะห์ SWOT เป็นหนึ่งในเทคนิควิธีที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย
การวิเคราะห์-SWOT
การวิเคราะห์ SWOT คืออะไร
SWOT เป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินสถานการณ์ เพื่อช่วยให้ผู้บริหารกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและปัญหาอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอกตลอดจนถึงผลกระทบที่มีต่อศักยภาพ ในการทำงานขององค์กร คำว่า SWOTเป็นตัวย่อที่มีความหมาย ดังนี้
  • S มาจาก คำว่า Strengths หมายถึง จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ เป็นปัจจัยภายในที่มีผลดีต่อการดำเนินงานขององค์กร ซึ่งองค์กรจะต้องค้นหาความสามารถที่โดดเด่น เพื่อนำมากำหนดเป็นกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับลักษณะการบริหารงานขององค์กร เช่น องค์กรภาครัฐนำมากลยุทธ์เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุผลตามเป้าหมายหรือตาม แผนที่วางไว้ ส่วนองค์กรธุรกิจนำจุดแข็งมากำหนดเป็นกลยุทธ์เพื่อให้มีความสามารถโดดเด่น เหนือคู่แข็งทางด้านการตลาด
  • W มาจาก คำว่า Weaknesses หมายถึง จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ เป็นปัจจัยภายในที่มีผลกระทบหรือส่งผลเสียต่อการบริหารงานขององค์กร เช่น ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน เครื่องมือเครื่องใช้ขาดคุณภาพหรือไม่ได้มาตรฐาน ทำให้องค์กรไม่สามารถนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการบริหารงาน
  • O มาจาก คำว่า Opportunities หมายถึง โอกาสหรือปัจจัยภายนอกที่เอื้ออำนวยให้การทำงานขององค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งได้แก่สภาพแวดล้อมที่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่การดำเนินงาน
  • T มาจาก คำว่า Threats หมายถึง อุปสรรคหรือข้อจำกัด ที่เป็นภัยคุกคามต่อการดำเนินงานขององค์กร เป็นปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ นอกจากการควบคุมาและวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางป้องกันให้ได้รับผลกระทบหรือมี ความเสียหายน้อยลง
กรอบและขั้นตอนใน การวิเคราะห์ SWOT
สิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงสำหรับการวิเคราะห์ SWOT ก็คือ การกำหนดกรอบหรือกำหนดประเด็น เพื่อให้การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคได้อย่างถูกต้อง หลักในการกำหนดกรอบหรือกำหนดประเด็นวิเคราะห์ SWOT  ต้องขึ้นอยู่กับลักษณะธุรกิจหรือธรรมชาติขององค์กรนั้นๆซึ่งมีความแตกต่าง กันหลายรูปแบบ เช่น กรอบหรือประเด็นการวิเคราะห์หน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐ และองค์กรภาคธุรกิจ
ประเด็นสำหรับการวิเคราะห์
  1. เอกลักษณ์ขององค์กร
  2. ขอบเขตของธุรกิจ
  3. แนวโน้มและสภาพแวดล้อมที่จะกลายเป็นโอกาสและอุปสรรค
  4. โครงสร้างของธุรกิจ
  5. รูปแบบการเติมโตตามที่คาดหวัง
ข้อควรคำนึงใน การวิเคราะห์ SWOT
  1. องค์กรต้องกำหนดก่อนว่า องค์กรต้องการที่จะทำอะไร
  2. การวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคต้องกระทำในช่วงเวลาขณะนั้น
  3. องค์กรต้องกำหนดปัจจัยหลัก (key success factors) ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานให้ถูกต้อง
  4. องค์กรต้องประเมินความสามารถของตนให้ถูกต้อง
ข้อควรระวังในการวิเคราะห์ SWOT
  1. การระบุจุดอ่อนต้องวิเคราะห์อย่างซื่อสัตย์
  2. การจัดการกับกลไกการป้องกันตนเองต้องกระทำอย่างรอบคอบ
  3. แนวโน้มการขยายจุดแข็งที่เกินความเป็นจริง
  4. ความใกล้ชิดกับสถานการณ์ทำให้มองสถานการณ์ขององค์กรไม่ชัดเจน
  5. การกำหนดบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูลต้องระบุให้ชัดเจน
  6. ข้อมูลไม่เพียงพอ นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมภายนอกอาจเป็นโอกาสหรืออุปสรรคก็ได้
ขั้นตอนและกระบวนการวิเคราะห์ SWOT
การวิเคราะห์SWOT เพื่อกำหนดกลยุทธ์ที่สามารถแก้ไขปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนสามารถสร้างความได้เปรียบในเชิงแข่งขันให้กับองค์กรธุรกิจ และช่วยให้การบริหารงานบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้สำหรับองค์กร หรือหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่
1.การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร
เป็นการวิเคราะห์และพิจารณาทรัพยากรและความสามารถภายในองค์กรทุก ๆ ด้าน ทั้งในด้านโครงสร้าง ระบบ ระเบียบ วิธีปฏิบัติงาน บรรยากาศในการทางานและทรัพยากรในการบริหาร เช่น คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ และการจัดการ รวมถึงการพิจารณาผลการดาเนินงานที่ผ่านมา เพื่อระบุจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กร
2.การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก
การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรนั้น สามารถค้นหาโอกาสและอุปสรรคในการการดาเนินงานขององค์กรที่ได้รับผลกระทบ เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยใดที่สามารถส่งผลกระทบประโยชน์ทั้งทางตรงและทาง อ้อมต่อการดำเนินการขององค์กร และสามารถฉกฉวยข้อดีมาเสริมสร้างให้หน่วยงานเข็มแข็ง ขึ้นได้ สำหรับอุปสรรคทางสภาพแวดล้อม เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กรใดที่สามารถส่งผลกระทบ ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรง และทางอ้อม ซึ่งองค์กร จาต้องหลีกเลี่ยงหรือปรับสภาพองค์กรให้มีความแข็งแกร่งพร้อมที่จะเผชิญ แรงกระทบดังกล่าวได้
3.วิเคราะห์สถานการณ์จากการประเมินสภาพแวดล้อม
เมื่อได้ข้อมูลเกี่ยวกับ จุดแข็ง-จุดอ่อน โอกาส-อุปสรรค จากการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกนอกแล้ว ให้นำ จุดแข็ง-จุดอ่อนภายในมาเปรียบเทียบกับ โอกาส-อุปสรรค จากปัจจัยภายนอกเพื่อดูว่าองค์กรกำลังเผชิญสถานการณ์ เช่น สถานการณ์ที่เลวร้าย  สถานการณ์ที่องค์กรมีโอกาสเป็นข้อได้เปรียบ เป็นสถานการณ์ที่พึ่งปรารถนา หรือสถานการณ์นี้เกิดขึ้นจากการที่สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออานวยต่อการ ดาเนินงาน แต่ตัวองค์กรมีข้อได้เปรียบที่เป็นจุดแข็งหลายประการ
เมื่อทราบสถานการณ์ที่องค์กรกำลังเผชิญอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ใดๆ ก็สามารถที่จะนำสถานการณ์นั้นมากำหนดเป็นกลยุทธ์ในการบริหารเพื่อให้องค์กร เกิดการได้เปรียบ ทำให้องค์กรบรรลุผลสำเร็จ หรือลดผลกระทบทำให้เกิดความเสียหายน้อยลง
ประโยชน์ของ การวิเคราะห์ SWOT
วิเคราะห์SWOT เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งปัจจัยแต่ละด้านจะช่วยให้เข้าใจได้ว่ามีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของ องค์กรอย่างไร เช่น
  • จุดแข็งขององค์กร จะเป็นความสามารถภายในที่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการบรรลุเป้าหมาย
  • จุดอ่อนขององค์กร จะเป็นคุณลักษณะภายในที่อาจจะทำลายผลการดำเนินงาน
  • โอกาสทางสภาพแวดล้อม จะเป็นสถานการณ์ที่ให้โอกาสเพื่อการบรรลุเป้าหมายองค์กร
  • อุปสรรคทางสภาพแวดล้อม จะเป็นสถานการณ์ที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมาย ขององค์กร
ความสำคัญ กระบวนการและผลจากการวิเคราะห์ SWOT นี้จะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดวิสัยทัศน์การกำหนดกลยุทธ์ เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาไปในทางที่เหมาะสมสามารถบรรลุความสำเร็จตามเป้า หมายที่วางไว้ หรือทำให้มีข้อได้เปรียบในเชิงธุรกิจสามารถเป็นผู้นำทางด้านการตลาดได้ นั้นเอง

การเขียนแผนการตลาด วางเป้าหมายง่ายๆ แต่ใช้ได้จริง

การเขียนแผนการตลาด วางเป้าหมายง่ายๆ แต่ใช้ได้จริง

สวัสดีค่ะสำหรับวันนี้เราจะมาแนะนำเรื่องราวเกี่ยวกับการ วางแผนการตลาดหรือรูปแบบของการเขียนแผนการตลาดกัน สำหรับใครที่ยังไม่รู้จักรูปแบบของแผนการตลาดวันนี้เราจะมาแนะนำเรื่องราว เกี่ยวกับแผนการตลาด และเทคนิคในการวางแผนการตลาดสำหรับใครที่ยังเป็นมือใหม่และไม่รู้เทคนิคกล ยุทธและวิธีการสมมุติเช่นเรานั้นเลือกที่จะขายเครื่องสำอางสำหรับการเลือก ที่จะขายเครื่องสำอางหรือครีม สมัยนี้ต้องรู้จักคู่แข่งก่อน คู่แข่งของพวกครีมแบรนด์เครื่องสำอางอาหารเสริม มีด้วยกัน 3 ประเภท
ID-100230612
การเขียนแผนการตลาด
  • บริษัทที่ขายสินค้าพวกอาหารเสริม พวกนี้เขามีเงินทำการตลาดสูง
  • พวกเซเลป FC พริตตี้ พวกนี้มีเงิน และมีหน้าตาสวย โปรโมทง่ายๆ แค่ถ่ายภาพ ก็แทบจะขายสินค้าได้
  • ประเภทเว็บไซต์ที่เปิดขายมานาน มีลูกค้ารีวิวสินค้าหรือมีคนนิยมติดตามซื้อเป็นประจำ เรียกง่ายๆว่ามีฐานลูกค้าแล้ว
ซึ่ง 3 ประเภทนี้เป็นคู่แข่งรายถึกซึ่ง มีแนวโน้มเป็นคู่แข่งที่จะฆ่าเราได้ตลอดเวลาสูงมาก สำหรับประเภทย่อยๆออกมานั้นก็คือ คู่แข่งประเภทรายย่อย ซึ่ง ก็มีด้วยกัน 2 กลุ่มคือ
  • กลุ่มเด็กนักศึกษาเด็กนักเรียนที่ขายกันแบบ ทั่วๆไป ขายด้วยเรียนไปด้วย
  • กลุ่มผู้ที่ มีตัวแทนฝากขายสินค้า หรือ ทำการตลาดแบบเชื่อมโซ่   ไม่ต้องลงมือหาลูกค้าเอง ให้คนอื่นหาลูกค้ามาเป็นฐานลูกค้า ของเราแทน
ซึ่งตรงส่วนนี้เราจะต้องรู้ สำหรับการวางโครงสร้างแผนการตลาดนั้นเราก็ต้องรู้ก่อนว่าใครเป็นคู่แข่งและ เราจะขายสินค้าให้ใคร และถ้าขายสินค้าไม่ได้ในกรณีที่สต็อกสินค้าหรือเหลือสินค้าเต็มไปหมดเราจะ ปล่อยสินค้าอย่างไร และเราจะขายสินค้าราคาเท่าไหร่   จำนวนกี่ชิ้น   และจะโปรโมทหรือเริ่มต้นการตลาดแบบใด ลงทุนเงินเท่าไหร่??ต้องวางโครงสร้างใส่กระดาษ A4 ก่อนค่ะก่อนจะเริ่มประมวลและวิเคราะห์ ความน่าจะเป็นในการขายสินค้าในการจำหน่าย และนี้ก็คือแนวความคิดง่ายๆสำหรับการเขียนแผนการตลาด ค่ะ

ก่อนจะทำการตลาดก็ต้องรู้จัก วางแผนการตลาด


ก่อนจะทำการตลาดก็ต้องรู้จัก วางแผนการตลาด

ปกติโดยทั่วไปแล้ว องค์กรที่จะประสบความสำเร็จได้  จะต้องให้ความสำคัญกับ แผนการตลาด เพราะ แผนการตลาด เป็นปัจจัยสำคัญในการประสบความสำเร็จของธุรกิจ ไม่ว่าองค์กรของท่านจะมีขนาดเล็ก ขาดกลาง หรือขนาดใหญ่ หากขาด แผนการตลาด ก็ไม่สามารถขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมายได้ ดังนั้นทุกๆองค์กรจึงจำเป็นที่จะต้องมี
แผนการตลาด ที่ดีเป็นอย่างไร แผนการตลาด ที่ดีนั้น จะต้องมีการทบทวนอยู่เสมอ แผนการตลาด ไม่ใช่เป้าหมายหรือแผนที่ตั้งขึ้นมาลอยๆแต่ต้องเป็นแผนที่ใช้งานได้จริงการ ทบทวน แผนการตลาด ทำให้เราสามารถทราบได้ว่าท่านกำลังดำเนินธุรกิจ ไปตามเป้าหมายหรือไม่ แผนการตลาด จะต้องกำหนดระยะของแผนไว้อย่างน้อย 1 ปี เพื่อนำมาสรุปและประเมินแผนนั้น แต่ในปัจจุบันมีการแข่งขันที่สูงขึ้นทำให้บางองค์กรมีการสร้าง แผนการตลาด ถึง 5 ปี และค่อยทบทวนอยู่ตลอด
ประโยชน์ของ แผนการตลาด แน่นอนว่าการทำ แผนการตลาด ย่อมที่จะมีประโยชน์อย่างแน่นอน ไม่เช่นนั้นหลายๆที่ก็คงจะไม่เสียเวลาทำกัน ประโยชน์ของ แผนการตลาด เราสามารถสรุปได้ดังนี้

1.ทำให้ธุรกิจมีเป้าหมาย
ปกติแล้ว แผนการตลาด จะต้องถูกจัดทำขึ้นให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของบริษัท ซึ่งหลายๆที่ใช้ แผนการตลาด เป็นแผนหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจ นอกจากนี้ ยังทำให้ส่วนงานการตลาดของท่าน มีเป้าหมายในการทำงานอีกด้วย
2.ทำให้มีแผนการมุ่งสู่ความสำเร็จขององค์กร
แน่นอนว่า แผนการตลาด ที่ดีย่อมกำหนดอนาคตขององค์กร ได้ แม้ว่าในโลกนี้แทบจะไม่มีอะไรสามารถคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำ แต่การทำแผนการตลาด ก็ได้มีการวิเคราะห์ SWOT ก่อนที่จะทำแผน ดังนั้นโอกาสใกล้เคียงย่อมจะมีอย่างแน่นอน และจะเป็นแผนที่มุ่งสู่ความสำเร็จขององค์กร
3.ทำให้เข้าใจภาพรวมของตลาด
แผนการตลาด กำหนดขึ้นโดยการวิเคราะห์ทั้งบริษัทท่านเองและคู่แข่งทำให้เราสามารถมอง ภาพรวมของตลาดได้ว่า ขณะนี้ตลาดเป็นไปในทิศทางใด การสร้างแผนขึ้นมาก็เพื่อ รองรับภาพรวมของตลาด และเป็นกลยุทธ์การดำเนินงานทางธุรกิจนั่นเอง
ดังนั้นแล้ว แผนการตลาด จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับองค์กรไม่ว่าองค์กรนั้นมีขนาดใด หากเปรียบเสมือนการเล่นฟุตบอล เรียกได้ว่าเป็นแท๊กติก ของโค้ช ที่จะวางแผนให้ลูกทีมเล่นอย่างไรเลยทีเดียว

Seeding marketing คือ (หน้าม้า) อะไร ?

Seeding marketing คือ (หน้าม้า) อะไร ?

Seeding marketing คือ การเลือกซื้อสินค้าหลากหลายประเภทของนักช้อปปิ้งออนไลน์ อาทิ เช่นสินค้าประเภทแฟชั่น เสื้อผ้า เครื่องสำอาง ของใช้ภายในครัวเรือน หรือของน่ารักๆประเภทของประดับตกแต่ง นอกจากเรื่องของ รูปลักษณ์ ราคา และคุณภาพของสินค้าเป็นที่ถูกใจแล้วสิ่งที่ทำให้นักช้อปปิ้ง ตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าจากร้านค้าออนไลน์ก็คือความน่าเชื่อถือทั้งในด้าน คุณภาพของสินค้าและความเชื่อมั่นในการบริการของร้านค้าออนไลน์เหล่านั้น ความเชื่อมั่นในตัวสินค้าและร้านค้าออนไลน์ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจซื้อ สินค้าหรือบริการ ส่วนหนึ่งวัดจากคำสนทนาของผู้ที่เคยสั่งซื้อสินค้าหรือใช้สินค้าที่สนทนากัน ตามกระดานสนทนาและตามเว็บไซต์ต่างๆรวมถึงการรีวิวสินค้าของลูกค้าเมื่อนำไป ใช้แล้วได้ผลจนทำให้เกิดความประทับใจและอยากบอกเล่าให้คนอื่นได้รับรู้ จึงทำให้เกิดกลยุทธ์ด้านหน้าม้าการตลาดที่เรียกว่า Seeding marketing ซึ่งก็คือทำการตลาดด้วยกลยุทธ์ “หน้าม้า” เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของลูกค้า ตัวอย่างง่ายๆเช่น การทำรีวิวสินค้า ทำโพส หรือสร้างกระทู้ขึ้นในเว็บบอร์ดหรือบล็อกโดยพูดถึงสินค้าหรือการบริการของ เราในแง่ดีต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าหรือคนที่เข้ามาอ่านเชื่อมั่นว่าสินค้าหรือการบริการของเราดี จริง หลักในการนำกลยุทธ์ Seeding marketing (หน้าม้า) มาใช้กับร้านค้าออนไลน์สิ่งที่ต้องคำนึงและให้ความสำคัญก็คือต้องไม่บอกหรือ พูดถึงข้อดีของสินค้าเพียงด้านเดียวเพราะจะกลายเป็นการ PR หรือโฆษณาสินค้า  แต่ต้องยึดหลักจิตวิทยาที่ควรบอกถึงจุดอ่อนและจุดแข็งโดยให้เนื้อหามีการ แบ่งรับแบ่งสู้กันเอง ตัวอย่างเช่น การรีวิวเครื่องสำอางควรพูดถึงอาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่คนส่วนใหญ่รู้สึกกังวลแต่ก็ต้องบอกเล่าถึงจุดแข็งที่จะทำ ให้ลูกค้าเกิดความประทับใจเช่นเครื่องสำอางที่นำมาจำหน่ายเป็นสูตรที่อ่อน โยนต่อทุกสภาพผิวเพราะมีส่วนประกอบหลักๆเป็นสารสกัดจากธรรมชาติซึ่งได้จากผล ไม้และพืชสมุนไพรหลากหลายชนิด เป็นต้น

Viral Marketing คือ (การตลาดแบบปากต่อปาก) อะไร

Viral Marketing  คือ (การตลาดแบบปากต่อปาก) อะไร ?

ปัจจุบันช่องทางการสื่อสารในเชิงธุรกิจมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นซึ่งมี ผลมาจากเทคโนโลยีการ สื่อสารที่ทันสมัยทำให้การกระจายข้อมูลข่าวสารทำได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รูปแบบการสื่อสารจึงกลายมาเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่นำมาใช้วางแผนด้านการตลาดใน ธุรกิจออนไลน์โดยใช้สังคมออนไลน์ (Social  Medias)
ที่เกี่ยวข้องอยู่ในชีวิตประจำวันของเรามาเป็นเครื่องมือในการบอกเล่า เรื่องราวที่เราต้องการบอกต่อ หรือที่เรียกว่าทำการตลาดแบบ Viral Marketing (การตลาดแบบปากต่อปาก)viral-marketing
viral marketing คือ การตลาดแบบปากต่อปาก คือเทคนิคทำการตลาดที่ใช้กันมาตั้งแต่ก่อนยุคสังคม ออนไลน์โดยใช้วิธีพูดแบบปากต่อปากซึ่งประโยคที่ทุกคนคุ้นเคยกันดีก็คือ “ใช้ดีแล้วบอกต่อ” ที่คล้ายกับ  การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสหรือไวรัสคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน ลักษณะของการตลาดแบบปากต่อปากในธุรกิจออนไลน์ทำได้หลายรูปแบบอาทิเช่น สื่อผ่าน Video Clips เพื่อให้เกิดการแชร์ อย่างเช่นการใช้   YouTube ในการแชร์วีดีโอ หรือแม้แต่การใช้ข้อความที่เป็นตัวหนังสือ สิ่งสำคัญในการนำ Viral Marketing  หรือการตลาดแบบปากต่อปากมาใช้ก็คือความน่าเชื่อถือ เพราะหากข้อความหรือสิ่งที่เราต้องการสื่อทำให้ ลูกค้าเกิดความเชื่อถือได้มาก สิ่งนั้นก็มักจะถูกส่งต่อไปยังเพื่อนๆเป็นการช่วยแพร่กระจายข่าวสารและเร่ง ยอดขายแบบประหยัดงบประมาณได้มากเพราะลูกค้าจะเป็นผู้บอกต่อ เป็นผู้กระจายข้อมูลสินค้าและการ บริการซึ่งเป็นการทำการตลาดแบบปากต่อปากนั้นเอง
สำหรับการนำ Viral Marketing หรือการตลาดแบบปากต่อปากมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการเพิ่มยอดขาย เพื่อให้ประสบความสำเร็จในธุรกิจออนไลน์นอกจากความน่าเชื่อถือแล้ว ร้านค้าออนไลน์ต้องมั่นใจในคุณภาพสินค้าและการบริการของตนเองเพราะไม่เช่น นั้นการตลาดแบบปากต่อปากก็เปรียบเหมือนดาบสองคมที่ทำให้เกิดทั้งผลดีและผล เสียได้ในเวลาเดียวกัน

ภาวะผู้นำ เสริมตัวเองและธุรกิจให้แกร่งง่ายๆด้วยภาวะผู้นำ

ภาวะผู้นำ เสริมตัวเองและธุรกิจให้แกร่งง่ายๆด้วยภาวะผู้นำ

ภาวะผู้นำ ถ้าพูดถึงการใช้ชีวิตหรือการทำอะไรสักอย่าง การเป็นเจ้าของธุรกิจทั้งโลกoffline และ ในโลก Online ต่างก็ต้องใช้คน บุคลากร เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ทั้งด้านการตลาด นำเสนอสินค้า ครั้งนี้จะพูดถึง ภาวะผู้นำ ว่ามีการเกี่ยวข้องกับธุรกิจอย่างไรครับภาวะผู้นำ
แกร่งด้วย ภาวะผู้นำ (LEADERSHIP) คือแกร่งด้วยบทบาทของผู้นำ
กล้าคิด กล้าตัดสินใจ และกล้าที่จะเผชิญกับปัญหาทุกรูปแบบเพื่อนำไปสู่การแก้ไข เช่น ร้านค้าคู่แข่งนำสินค้าเกรดบีมาขายตัดราคาสินค้าในร้านซึ่งเป็นสินค้าเกรดเอ ทั้งหมด ผู้นำต้องกล้าที่จะลงทุนเพิ่มโดยการสั่งสินค้าทุกเกรดมาจำหน่ายแทนการลดราคา สินค้าให้ต่ำลง เพื่อแสดงให้ลูกค้าเห็นว่าสินค้าของเราเป็นสินค้าคุณภาพและมีหลายเกรดให้ เลือกซื้อ
แกร่งด้วยการบริหารกลยุทธ์ (STRATEGY) คือต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการนำกลยุทธ์มาปฏิบัติ เช่น ต้องการให้สินค้ามีการเคลื่อนไหวหรือมียอดสั่งซื้อภายในระยะเวลาหรือช่วง เวลาที่กำหนด
แกร่งด้วยการบริหารการเปลี่ยนแปลง (CHANGE) ผู้นำต้องมีความสามารถในการเผชิญกับภาวะความเปลี่ยนแปลง และสามารถเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสได้ เช่น ร้านค้าออนไลน์ส่วนใหญ่ประสบปัญหาลูกค้าขอคืนสินค้าเพราะสินค้าที่สั่งซื้อ ผิดสีผิดแบบหรือมีตำหนิส่งสินค้าไม่ได้ตามกำหนดเวลา การเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสก็คือ การรวบรวมสินค้าเหล่านี้ไว้เมื่อรวบรวมได้จำนวนหนึ่งแล้วนำออกมาขายยกเป็น เซ็ตตามที่เรากำหนด หรือนำออกมาให้ลูกค้าประมูลซึ่งโอกาสที่ได้รับก็คือนอกจากไม่ขาดทุนแล้วยัง ได้ทุนคืนหรือมีกำไรอีกด้วย
แกร่งด้วยการวิจัยและพัฒนา (RESEARCH) ผู้นำต้องรู้จักคิดวิเคราะห์นำทั้งปัญหาและความสำเร็จที่เกิดขึ้นมาหาสาเหตุว่าเกิดจากสิ่งใด เพื่อนำมาแก้ไขหรือนำมาพัฒนาต่อยอด
ภาวะผู้นำของผู้บริหารมีความสำคัญและจำเป็นต่อธุรกิจ ทุกประเภท ร้านค้าออนไลน์ก็เช่นเดียวกันหากเจ้าของร้านมีภาวะความเป็นผู้นำสูงก็จะส่ง ผลให้ธุรกิจออนไลน์ประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน

6 กลยุทธ์สำหรับพูดคุยเพื่อสร้างยอดขายให้เพิ่มขึ้น

6 กลยุทธ์สำหรับพูดคุยเพื่อสร้างยอดขายให้เพิ่มขึ้น

จะพูดว่าเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดก็ไม่เชิง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก้ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลและสโลแกนของบริษัทต่างๆที่ต้องการ จะวางพนักงานและองค์กรไว้ในทิศทางไหน แต่สำหรับ 6 ข้อต่อไปนี้ คิดว่าต้องมีประโยชน์ได้ไม่มากก็น้อยนะครับ

6ข้อ
1. ยิ้ม
ก่อนที่คุณจะก้าวออกจากรถหรือบ้านของคุณ เพื่อจะไปทำงาน ลองเตรียม’ยิ้ม’อันสดใส ของคุณให้พร้อมสำหรับวันทำงาน แล้วสิ่งดีๆจะเกิดขึ้น ลองดูสิ
2. ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
แน่นอนว่าคุณไม่ได้เป็นคนเดียวที่เกลียดการทำงานเป็นเครือข่าย แต่ถ้าคุณลองเปิดใจ คุณจะเห็นว่าคนที่เป็นเหมือนคุณ ไม่ชอบเหมือนกัน นั้นก็มีเยอะยแยะมากมาย ลองเข้าไปคุยทำความรู้จัก เพื่อช่วยเหลือกัน สร้างกลุ่มรมกลุ่มใหม่ การทำงาน และ ชีวิตต้องดีขึ้นกว่าเก่าแน่ๆเลย
3. ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับสิ่การพบเจอคนไม่รู้จัก
เรียนรู้ทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ของคุณ คุณสามารถเริ่มต้นการสนทนาด้วยการชมเชยชิ้นส่วนของเครื่องประดับ ตามความนึกคิดและดูไม่โอเวอร์จนเกินไป และ ปล่อยให้เวลาเปนตัวพิสูจน์ ด้วยธรรมชาติของคน จะรู็จักกันมากขึ้นเอง
4. ผ่อนคลาย
โปรดจำไว้ว่านี่เป็นอะไรที่มากไปกว่าการสนทนาเฉยๆ อย่าพยายามที่จะขาย อย่าพยายามที่จะสร้างความประทับใจ ให้ใช้ความเป็นตัวเอง คนซื้อจะซื้อเพราะชอบและความไว้วางใจเท่านั้น พยายามสร้างความสัมพันธ์ ซึ่งกันและกัน
5. อย่าพยายามที่จะตอบสนองความต้องการของทุกคน
เพราะมันไม่ใช่การแข่งขัน คุยกับคนบางคนที่คิดว่าจะไปต่อได้ แต่ไม่ใช่กับทุกคน
6. ติดตาม
มันเป็นสิ่งสำคัญมากขึ้นสำหรับคุณที่จะต้องรับผลตอบรับจากลูกค้าให้ได้ เพื่อนำมาพัฒณาสินค้าบริการของเรานั้นต่อไป และ อีกอย่างที่สำคัญในการเพิ่มยอดขายอย่างต่อเนื่องก็คือ คอยอัพเดทข้อมูลสินค้าบริการใหม่ๆของเรา ให้กับลูกค้าเก่าที่เคยสนใจ และ ซื้อสินค้าเราไปแล้วในอดีต
จากทั้งหมด 6 ข้อ ทำให้ผมคิดออกว่าการทำความรู้จักคนต่างๆเพื่อจะเสนอสินค้าหรือบริการให้ได้ รับผลตอบรับคำสั่งซื้อกลับมานั้นก็คล้ายๆกับการเข้าไปจีบใครสักคนนึง ถ้าสำเร็จ เค้าไว้วางใจ เริ่มสนใจ เค้าก็ให้ใจเรากลับมา นั้นเอง หลักสำคัญเลยก็อย่างในหลายๆข้อข้างต้น ที่มุ่งเน้นให้เรามีความยิ้มแย้มแจ่มใส ก็พูดคุยที่ตรงไปตรงมา น่าเชื่อถือ เป็นตัวของตัวเองมากที่สุด เพราะการขายของคุณภาพเกินจริงในสมัยนี้เริ่มไม่ได้ผลแล้ว เพราะโลกออนไลน์เปิดกว้างขึ้น มีข้อมูลทุกอย่างที่ต้องการจะรู้ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เราผู้เป็นพ่อค้ายแม่ค้า ควรให้ข้อมูลที่จริงแท้ที่สุดของสินค้าบริการของเรา เพื่อเป็นผลดีของลูกค้า และ ความมีคุณธรรมของเรา

การเขียนรายละเอียดสินค้า เคล็ดลับสร้างยอดขาย

การเขียนรายละเอียดสินค้า เคล็ดลับสร้างยอดขาย

การขายสินค้าทั่วๆไป มีกลยุทธ์ที่หลากหลายในการดึงดูดความสนใจของลูกค้าที่เราเคยพบเห็นกันเป็น ประจำ ก็คือการใช้ประชาสัมพันธ์สาวสวยยืนโปรโมทสินค้าอยู่หน้าร้าน หรือมีคนคอยเดินตามคอยให้คำแนะนำเกี้ยวกับรายละเอียดต่างๆของสินค้าซึ่งก็ เป็นวิธีสร้างยอดขายที่ได้ผล ในส่วนของร้านค้าออนไลน์กลยุทธ์เหล่านี้คงทำไม่ได้ แต่ไม่ใช่เรื่องยากค่ะเพราะการบริหารหรือทำการตลาดเจ้าของร้านต้องใช้ทั้ง ศาสตร์และศิลป์ ดังนั้นเราจึงสามารถเปลี่ยนศิลปะการขายจากการพูดการแนะนำหรือประชาสัมพันธ์ มาเป็นการเขียนแทนได้
การขายสินค้าออนไลน์สิ่งที่ทำให้ลูกค้าเกิดความสนใจได้ก็คือรูปภาพสวยๆ ของสินค้า ข้อความหรือรายละเอียดที่เขียนกำกับไว้ แต่เราจะเขียนอย่างไรที่จะสะกดจิตลูกค้าให้สั่งซื้อสินค้าของเราได้ เทคนิคการเขียนก็คือ

1.ต้องใส่อารมณ์ลงไปในการเขียน สร้างความเป็นกันเองมีลีลามีอรรถรสในการเขียนต้องเขียนในลักษณะเชิญชวนเพื่อเป็นการโน้มน้าวให้ลูกค้าเกิดความอยากซื้อ
2.รายละเอียดครบถ้วนชัดเจน ร้านค้าออนไลน์บางร้านเน้นนำเสนอสินค้าใหม่ๆก่อนใครโดยลืมเขียนรายละเอียด ทั่วไปของสินค้า เช่น สี ขนาด น้ำหนัก ราคา สิ่งเหล่านี้ต้องบอกให้ชัดเจนเพราะเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจซื้อของลูกค้า
3.หาจุดขายเด่นๆของสินค้า เช่น ขายผ้าปูที่นอนลายลายทีมฟุตบอลในช่วงฤดูกาลแข่งบอลโลก ลักษณะการเขียนอาจตั้งเป็นคำถามหรือเชิญชวนให้เป็นเจ้าของ
4.เน้นความจำเป็น เช่น การขายผ้านวมที่จำเป็นจะต้องใช้ในช่วงอากาศหนาวๆ เขียนคุณสมบัติเด่นๆของผ้านวม เนื้อผ้าดี สีไม่ตก รวมถึงรายละเอียดอื่นๆ
การเขียนรายละเอียดสินค้าถือเป็นเคล็ดลับในการสร้างยอดขายอย่างหนึ่ง เพราะหากเราเขียนบอกแต่รายละเอียดไม่ใส่อารมณ์ลูกเล่นลงไปก็เหมือนกับตัว หนังสือไม่มีชีวิต ไม่สามารถดึงดูดความสนใจของลูกค้าให้ซื้อสินค้าของเราได้

ทำความรู้จักกับ Promotion เพื่อส่งเสริมการตลาดให้ดีกว่าเดิม

ทำความรู้จักกับ Promotion เพื่อส่งเสริมการตลาดให้ดีกว่าเดิม

การส่งเสริมการตลาด (คืออะไร?)  เป็นกลยุทธ์ในการกระตุ้นความต้องการของลูกค้า ถึงแม้จะเป็นวิธีที่ได้ผลในระยะเวลาสั้นๆ แต่ก็สามารถสร้างยอดขายและมีผลกำไรให้กับธุรกิจไม่น้อย วัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการตลาดนอกจากเป็นการกระตุ้นความต้องการของลูกค้าแล้วยังเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆอีก 3 ด้าน ดังนี้Promotion
1.เพื่อแจ้งข่าวสาร (To  Inform)  เป็นการให้ข้อมูล ข่าวสารแก่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเพื่อให้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เช่น อยู่ในช่วงลดราคาหรือจัดโปรโมชั่น หรืออาจเป็นการแนะนำสินค้าใหม่ให้กลุ่มผู้มุ่งหวังได้รับรู้
  2.เพื่อจูงใจ (To  persuade)  เป็นการสื่อสารเพื่อชี้จุดเด่นของสินค้าให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความต้องการ ซื้อสินค้า หรือตัดสินใจซื้อ ตัวอย่างเช่น ร้านค้าออนไลน์จำหน่ายสินค้าประเภทผ้าห่มนวม หรือผ้าปูที่นอน นำผ้าปูที่นอนลายทีมฟุตบอลดังมาจำหน่ายในช่วงแข่งขันฟุตบอลโลกเพื่อกระตุ้น ให้ลูกค้าเกิดความต้องการ
  3.เพื่อเตือนความทรงจำ (To remind)  เป็นการสื่อสารทางการตลาดเพื่อให้ลูกค้าจดจำตรายี่ห้อของสินค้า หรือเป็นการส่งเสริมให้ลูกค้าระลึกถึงสินค้านั้นอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น คำว่า “คุ้มค่าทุกนาที…” เมื่อลูกค้าเห็นหรือได้ยินก็จะทราบได้ทันทีว่า คือ ทีวีสีช่องใด
การส่งเสริมการตลาดยังประกอบด้วยเครื่องมือสำคัญ 5  ประการ คือ การโฆษณา  การขายโดยใช้พนักงานขาย  การส่งเสริมการขาย  การให้ข่าวและการประชาสัมพันธ์  การตลาดทางตรง การส่งเสริมการตลาดถือเป็นหน้าที่หนึ่งในการทำธุรกิจ เพราะเป็นการประสานงานของผู้ขายที่ต้องพยายามใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้ ข้อมูลแก่ลูกค้า โดยข้อมูลข่าวสาวนั้นอาจจะเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ราคาสินค้า ช่องทางการจัดจำหน่ายหรือข้อมูลด้านอื่นๆก็ได้

Public Relation งานPR ประชาสัมพันธ์ คืออะไร ?

Public Relation งานPR ประชาสัมพันธ์ คืออะไร ?

Public Relation หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆว่า PR คือการประชาสัมพันธ์ซึ่งนักวิชาการหลายท่านได้ ให้คำจำกัดความไว้ว่า การประชาสัมพันธ์คือเครื่องมือการติดต่อสื่อสารที่ถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุน ภาพลักษณ์ของกิจการโดยรวม สำหรับการทำ PR หรือประชาสัมพันธ์นักธุรกิจหรือผู้ประกอบการบางส่วน อาจเข้าใจผิดและคิดว่าการทำ PR คือการกระตุ้นยอดขาย แต่ในความเป็นจริงแล้วการประชาสัมพันธ์คือการสื่อสารเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของ แบรนด์สินค้าให้เป็นที่รู้จัก และเป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจนั้นๆ
ความแตกต่างระหว่างการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์
การโฆษณาและประชาสัมพันธ์มีบทบาทสำคัญในการวางแผนด้านการตลาดที่ แตกต่างกัน การโฆษณาเป็นเรื่องของธุรกิจที่เน้นการขายโดยเฉพาะเพื่อหวังให้เกิดผลกำไร มากที่สุด เช่นการโฆษณากระตุ้นยอดขายเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับตัวสินค้าให้เป็นที่รู้จัก
การประชาสัมพันธ์ เน้นเรื่องการติดต่อสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพพจน์ขององค์กร โดยเผยแพร่ข้อมูลความรู้และความคิดเห็น เป็นการจูงใจให้ได้รับการสนับสนุนหรือสื่อสารเพื่อสร้างแบรนด์สินค้าให้เป็น ที่รู้จักโดยไม่ให้ภาพลักษณ์ของธุรกิจติดภาพที่เน้นการขายจนมากเกินไปประชาสัมพันธ์
ความสำคัญและวัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์
  • ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นมากกว่าการหวังผลกำไร
  • การประชาสัมพันธ์เน้นการสื่อสารสองทาง เช่น การจัดกิจกรรมอีเว้นท์ขนาดเล็กที่สามารถ
เข้าถึงลูกค้าได้ หรือตั้งจุดเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์เพื่อบริการลูกค้าหรือผู้ที่สนใจในการติดต่อสอบถามข้อมูลต่างๆ
  • เป็นการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพพจน์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับธุรกิจและองค์กร
  • การประชาสัมพันธ์ส่วนใหญ่อาศัยความร่วมมือจึงไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือมีค่าใช้จ่ายน้อย เช่นการ
สนับสนุนกิจกรรม สนับสนุนรายการด้วยเสื้อผ้าของพิธีกร หรือสนับสนุนสถานที่สำหรับจัดกิจกรรม
ดังนั้น การประชาสัมพันธ์ (Public Relation) หรือPR จึงเป็นการทำงานในรูปแบบของการสื่อสารและเป็นการสื่อสารสองทางโดยมีจุดมุ่ง หมายเพื่อโน้มน้าวจิตใจ มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเป็นการบริหารงานด้านการสื่อสารที่หวังผลในระยะยาว

กลยุทธ์การตลาด 7s กรอบแนวคิดของ McKinsey

กลยุทธ์การตลาด 7s กรอบแนวคิดของ McKinsey

การกำหนดแผนงานเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ มีความสำคัญมากต่อความสำเร็จของธุรกิจ ถึงแม้แผนงานคือการคาดการณ์อนาคตเป็นสิ่งที่กำหนดแนวในการดำเนินงาน ไม่ใช่คู่มือที่นำไปปฏิบัติตามนั้น แล้วจะต้องประสบผลสำเร็จ เพราะยังต้องมีองค์ประกอบหรือปัจจัยอื่นๆที่ต้องนำมาเป็นส่วนประกอบและเป็น ตัวช่วยในการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ การนำ 7s McKinsey มาเป็นกรอบแนวคิดในการนำแผนไปสู่การ ปฏิบัติคือกลยุทธ์หนึ่ง ที่สามารถเป็นตัวชี้วัดแผนการดำเนินงานว่ามีข้อดีข้อด้อยหรือจุดอ่อนที่ต้อง แก้ไขอย่างไร
หากมีคำถามว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้การบริหารงานขององค์กรนั้นๆประสบความสำเร็จคืออะไร คงมีคำตอบให้มากมาย และหนึ่งในนั้นก็คือประสิทธิภาพขององค์กรที่เป็นปัจจัยสำคัญ จากผลการศึกษาวิจัยยังพบว่า  “รูปแบบโมเดล (Model) ขององค์กรไม่ได้ส่งผลมากนักต่อความสำเร็จขององค์กร” หากเปรียบเทียบกับองค์กรธุรกิจก็คือการจัดรูปแบบหรือโครงสร้างร้านค้าที่มี ผลต่อความสำเร็จน้อยกว่าประสิทธิภาพหรือกลยุทธการบริหารในด้านการตลาด
ดังนั้น เครื่องมือที่ถูกนำมาใช้ในการบริหารเป็นหลักสากลก็คือ 7s McKinsey หรือกรอบแนวคิดที่ใช้พิจารณาและวางแผนเพื่อการกำหนดกลยุทธ์ในองค์กร และยังเป็นแนวคิดที่ต้องการนำเสนอว่าประสิทธิภาพขององค์กรธุรกิจเกิดจากความ สัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ 7 ประการ ซึ่งได้แก่
  • กลยุทธ์ (Strategy) คือ การวางแผนกิจกรรมภายในองค์กร  โดยให้แผนที่วางขึ้นมานั้นได้สอดคล้องและเหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพ แวดล้อมภายนอก  และภายในองค์กร  ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ช่วยสนับสนุนให้องค์กรมีขีดความสามารถเหนือคู่ แข่งขัน
  • โครงสร้างองค์กร (Structure) หมายถึง ลักษณะโครงสร้างขององค์การที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจหน้าที่และความ รับผิดชอบ รวมถึงขนาดการควบคุม การรวมอำนาจ และการกระจายอำนาจของผู้บริหาร การแบ่งโครงสร้างงานตามหน้าที่ ตามผลิตภัณฑ์ ตามลูกค้า ตามภูมิภาคได้อย่างเหมาะสม
  • สไตล์ (Style) สไตล์ในการทำงานของผู้บริหารนั้น  มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง จะมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของพนักงานภายในองค์กร  มากกว่าคำพูดของผู้บริหาร
  • ระบบ (System) เป็นการวิเคราะห์ถึงระบบงานขององค์กรในทุก ๆ เรื่อง ทั้งเรื่องระบบการบริหารจัดการ ระบบการปฏิบัติงาน  เช่น  ระบบสารสนเทศ ระบบการวางแผน  ระบบงบประมาณ ระบบการควบคุม  ระบบการจัดซื้อ ระบบในการสรรหาและคัดเลือกพนักงาน  ระบบในการฝึกอบรม  ตลอดจนระบบในการจ่ายผลตอบแทน
  • บุคลากร (Staff) หมายถึง การคัดเลือกบุคลากรที่มีความสามารถ การพัฒนาบุคคลากรอย่างต่อเนื่อง
  • ทักษะ (Skill)  เป็นการพิจารณาถึงทักษะหรือความเชี่ยวชาญขององค์กรโดยรวม  ว่ามีความเชี่ยวชาญหรือมีความชำนาญในด้านใด
  • ค่านิยม (Shared Value) หมายถึง ค่านิยมร่วมกันระหว่างคนในองค์การ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
องค์ประกอบของ  7s McKinsey มีลักษณะที่แตกต่างกัน โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ ส่วนที่จับต้องได้ สามารถนำมาประยุกต์ลอกเลียนแบบหรือปรับใช้ได้ ส่วนลักษณะที่2 ไม่สามารถจับต้องได้ ได้แก่ วิธีคิดของคน วัฒนธรรมของแต่ละองค์กร  และทักษะในการทำงานรูป
แบบแนวคิด 7s McKinsey  เป็นการวิเคราะห์ที่สามารถนำมาใช้ได้หลากหลายสถานการณ์ อาทิเช่น ใช้ในส่วนของการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ตรวจสอบปัจจัยภายในที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต จัดเพิ่มหรือลดหน่วยงานที่จำเป็นเพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงใช้ในการกำหนดวิธีที่ดีที่สุดที่จะใช้กลยุทธ์นำเสนอ เป็นการปรับกระบวนการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสอดคล้องกับการนำแผนกลยุทธ์ไป ปฏิบัติ ซึ่งเป็นแนวคิดที่เน้นว่าค่านิยมที่กำหนดนี้เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาทุกองค์ ประกอบที่สำคัญขององค์กร
สรุป 7s McKinsey ก็คือกรอบแนวคิดพื้นฐานที่นำมาใช้วิเคราะห์ตัวแปรทั้ง 7 ประการซึ่งมีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจ โดยนำผลการวิเคราะห์มากำหนดกลยุทธ์เพื่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูง สุดต่อการบริหารองค์กรนั้นเอง

Brand Engagement การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค

Brand Engagement การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค

ปัจจุบันโลกธุรกิจให้ความสนใจเกี่ยวกับคำว่า ‘การสร้างแบรนด์’ มากขึ้นในช่วง 1-2 ปี นี้ จนถึงปัจจุบัน เลยทำให้ธุรกิจทั้งใหม่และเก่าหันมาเรียนรู้ วิธีต่างๆ ในการสร้าง โดยสิ่งที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจได้ดี และ เหมาะสมกับผู้บริโภคมากที่สุด ณ เวลานี้ คิอ การใช้กลยุทธ์ Digital Marketing  เพราะ พฤติกรรมผู้บริโภคตอนนี้  ที่บริโภคการใช้งานอินเตอร์เน็ตทั่วโลกมีมากกว่า 2000 ล้านคน โดยเฉพาะ เครือข่ายสังคมออนไลน์ อย่างเช่น Facebook Twitter และ Youtube เป็นต้น ที่คนไทยชื่นชอบใช้งานมากที่สุด โดยข้อมูลจากเว็บไซต์ Truehits.net คนไทยใช้งานอินเตอร์เน็ต 20 ล้านคน จากประชากร 64 ล้านคน ( ปี 2557 – 64,871,000  คน )
engagement
การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค หรือ Brand Engagement อย่าง ที่กล่าวมาข้างต้น พฤติกรรมของคนในปัจจุบันนิยมใช้สังคมออนไลน์กันมากขึ้น ถึงขึ้นเรียกได้ว่า เสพติด กันก็ว่าได้ ทีนี้ช่องทางที่เราจะป้อนสินค้าบริการของเรา ให้ผู้บริโภครู้จักแบรนด์ของเราก็ไม่ยากอย่างที่คิด แล้วจะทำยังไงเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ความเข้าถึงง่าย และ ความสะดวกสบาย อย่างไร ?
  • Facebook สร้างแฟนเพจของแบรนด์ธุรกิจนั้นๆ คอยตอบคำถาม และ อัพเดทความเคลื่อนไหวของสินค้าบริการ การจัดกิจกรรมให้ร่วมสนุกเพื่อดึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ๆ ให้มารู้จัก อย่างแฟนเพจ KFC ประเทศ ไทย ที่เป็นข่าวค่อนข้างดัง อยู่ในกระแสได้ตลอด แต่ท่ผมยกตัวอย่าง เพจKFC จะถือว่าเป็นแบรนด์ที่ติดตลาดไปนานมากแล้ว แต่ผมกลับชอบวิธีการตอบคอมเม้นของ admin ในเพจ ที่สามารถทำให้เป็นกระแสได้ในทางบวก
  • Youtube โดยส่วนตัวผมชอบการทำโฆษณาแบบเล่าเรื่อง ไม่ได้มุ่งประเด็นไปในตัวสินค้าหรือบริการ อย่างตรงไปตรงมา แต่ชอบการที่ผู้บริโภคจะสามารถรู้สึกอินไปกับโฆษณานั้นๆได้ อย่างเช่น โฆษณาของไทยประกันชีวิต เป็นต้น หรือ ถ้ามองมาในธูรกิจเล็กๆ จำพวกสินค้าแฟชั่น อาหารเสริม สิ่งที่สำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเลยคือการไม่โฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง รีวิวสินค้าอย่างตรงไปตรงมา บอกวิธีใช้ รายละเอียดอย่างละเอียด เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถรู้ถึงสินค้าบริการนั้นได้อย่างดี เพื่อเป็นการตันสินใจที่ไม่ผิดพลาดของลูกค้า และแน่นอน เมื่อลูกค้าประทับใจ ความสัมพันธ์ดีๆก็จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
แต่จะถึงอย่างไรก็ตามความสัมพันธ์จะเกิดขึ้นได้ก็อยูที่กลยุทธ์ต่างๆของ แต่ละบริษัทร้านค้า บางกลยุทธ์อาจจะเป็นความลับ แต่สำหรับการเริ่มต้นเพียงให้รู้จักการสังเกตุ การวิเคราะห์สถิติ การใช้สังคมออนไลน์ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ก็เป็นเครื่องมือช่วยพัฒนากลยุทธ์ของเราได้อีกขึ้นหนึ่งแล้วล่ะครับ

8P คือ กลยุทธ์การตลาด ปัจจัยสู่ความสำเร็จของนักธุรกิจ

8P คือ กลยุทธ์การตลาด ปัจจัยสู่ความสำเร็จของนักธุรกิจ

8P คือ ? การบริหารธุรกิจทุกประเภทปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ประสบความสำเร็จก็คือการวางแผนที่มีการนำกลยุทธ์ทางการตลาด (8P คือ)ซึ่ง มีอยู่มากมายมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจแต่ละประเภท โดยเฉพาะธุรกิจออนไลน์ที่มีการแข่งขันกันสูงเพราะปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ในชีวิตประจำวันของคนเราในทุกๆด้าน กลยุทธ์การตลาดที่ มีประสิทธิภาพเท่านั้นที่จะทำให้ธุรกิจออนไลน์ ประสบความสำเร็จได้ง่ายและ เร็วขึ้น ดังนั้นเพื่อให้นักธุรกิจออนไลน์มือใหม่หรือคนที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำ ธุรกิจออนไลน์ได้เลือกกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพเมื่อนำมาใช้แล้วสามารถเห็นผล ได้อย่างชัดเจน แนะนำให้ศึกษาความหมายของกลยุทธ์ 8P คือ ซึ่งประกอบไปด้วย
กลยุทธ์การตลาด
กลยุทธ์ที่ประกอบด้วย ปัจจัยหลัก 8p คือ
    • กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์  (Product Strategy) ซึ่ง จะเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ทั้งหมด เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตการบรรจุหีบห่อ ให้สินค้าที่เรานำมาจำหน่ายมีความน่าสนใจแตกต่างไปจากคู่แข่งที่จำหน่าย สินค้าประเภทเดียวกัน หากเป็นร้านค้าออนไลน์ที่ไม่ได้ผลิตสินค้ามาขายเอง การตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เพื่อนำมาจำหน่ายต้องมีความชัดเจน รู้ข้อดี ข้อด้วยของผลิตภัณฑ์นั้นๆจริงๆ เพราะนอกจากจะเป็นการกำหนดกลุ่มลูกค้าทำให้จัดหาสินค้ามาจำหน่ายได้ตรงตาม ความต้องการของ กลุ่มลูกค้าแล้วยังทำให้เรารู้ว่าสินค้าที่นำมาจำหน่ายสามารถตอบสนองต่อความ ต้องการของลูกค้าได้มาก-น้อยเพียงใดซึ่งข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อการ พัฒนาปรับปรุงสินค้าที่จะผลิตต่อไป
    • กลยุทธ์ด้านราคา (Price Strategy) คือ การกำหนดราคาสินค้าที่คำนวณจากต้นทุนในการผลิตบวกกับกำไรที่เราต้องการจะได้ คำว่าต้นทุนการผลิตในส่วนของร้านค้าออนไลน์ที่ทำธุรกิจแบบซื้อมาขายไป โดยไม่ได้มีการผลิตสินค้าออกมาขายเองต้นทุนคือราคาทุนของสินค้าบวกค่าใช้ จ่ายและบวกด้วยผลกำไรที่ต้องการจะได้แล้วนำมากำหนดเป็นราคาขาย กลยุทธ์สำคัญในการกำหนดราคาจะตั้งราคาสูงหรือราคาต่ำ หลักสำคัญที่จะต้องพิจารณามีรายละเอียดดังนี้ 1.ตั้งราคาตามคู่แข่ง หากสินค้าที่ผลิตหรือนำมาจำหน่ายไม่ได้มีความแตกต่างจากสินค้าประเภท เดียวกันทั้งในด้านคุณภาพ รูปแบบ และลักษณะการใช้งาน การตั้งราคาสูงหรือราคาต่ำอาจไม่มีผลต่อการตลาดเพราะสินค้าไม่ได้มีความโดด เด่นแตกต่างไปจากคู่แข่งหรือสร้างความแตกต่างได้ยาก การกำหนด ราคาสินค้าจึงต้องตั้งราคาตามคู่แข่ง การตัดสินใจซื้อให้ขึ้นอยู่กับความพอใจของลูกค้า 2.ตั้งราคาน้อยกว่าหรือใกล้เคียงกับคู่แข่ง ในกรณีที่เป็นสินค้าประเภทเดียวกันในท้องตลาดเพื่อดึงความสนใจของลูกค้าทำ ให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าจากราคาที่ถูกกว่า ส่วนผลกำไรที่ร้านค้าออนไลน์จะได้รับเน้นที่ปริมาณการขาย 3.ตั้งราคาสูงกว่า การตั้งราคาผลิตภัณฑ์หรือตั้งราคาสินค้าให้สูงกว่าสินค้าประเภทเดียวกันที่มีอยู่ในท้องตลาด
    • กลยุทธ์ด้านการจำหน่าย (Place Strategy)  ปัจจุบัน ช่องทางการจำหน่ายสินค้าที่นิยมใช้มีอยู่สองรูปแบบคือ ร้านค้าขายสินค้าให้กับลูกค้า โดยตรง เช่น ร้านค้าออนไลน์ขายสินค้าให้กับลูกค้าเมื่อมีการติดต่อสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์ หรือเว็บเพจพร้อมการโอนเงิน เมื่อร้านค้าออนไลน์ได้รับเงินแล้วก็จะจัดส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าโดยตรง ซึ่งช่องทางการจำหน่าย ด้วยวิธีนี้ร้านค้าออนไลน์จะได้กำไรมากกว่า ส่วนช่องทางการจำหน่ายรูปแบบที่ สอง คือการขายสินค้าผ่านตัวแทนหรือคนกลางตัวอย่างเช่น ร้านขายสินค้าเปิดรับตัวแทนขายสินค้าวิธีการก็คือให้ผู้ที่สนใจเป็นตัวแทนนำ รูปภาพสินค้าไปขายจะขายทางเว็บไซต์ เว็บเพจ Facebook หรือช่องทางอื่นๆซึ่งขึ้นอยู่กับตัวแทน เมื่อตัวแทนมียอดสั่งซื้อเพียงโอนเงินพร้อมแจ้งรายละเอียดที่อยู่ของลูกค้า ทางร้านค้าออนไลน์ก็จะทำการจัดส่งสินค้าในนามตัวแทนให้กับลูกค้าโดยตรง วิธีนี้เป็นการขยายกลุ่มลูกค้าทำให้มียอดขายสินค้าเพิ่มมากขึ้น ถึงแม้ช่องทางการจำหน่ายรูปแบบนี้จะทำให้ได้กำไรน้อยกว่าการขายสินค้าให้กับ ลูกค้าโดยตรงแต่ก็จะทำให้มียอดขายสินค้าเพิ่มมากขึ้นจากเครือข่ายของตัวแทน
  • กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion Strategy)  การ นำกลยุทธ์นี้มาใช้จุดประสงค์ก็เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าเกิดความต้องการสินค้า ในช่วงเวลานั้น โดยการเสนอผลประโยชน์ให้กับลูกค้าเป็นครั้งคราวอาทิเช่นการจัดโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม หรือเลือกใช้วิธีอื่นที่มีอยู่หลายรูปแบบสิ่งสำคัญคือต้องนำมาใช้ให้เหมาะ กับตัวสินค้าที่นำมาจำหน่ายและต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์ด้านอื่นๆด้วยเทคนิคใน การนำกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด มาใช้กับการขายสินค้าออนไลน์ ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ด้านอื่นๆควรส่งเสริมการขายเป็น 2 ลักษณะคือการมุ่งเน้นไปที่ลูกค้าโดยตรงเพื่อให้ลูกค้าซื้อสินค้ามากขึ้น เช่น ซื้อสินค้า 3 ชิ้นคิดราคาพิเศษหรือราคาส่ง และลักษณะที่2 มุ่งเน้นไปที่ตัวแทนเพื่อสร้างแรงจูงใจในการขายโดยการให้ส่วนลดสินค้า แถมสินค้า กำหนดเป้าในการสั่งซื้อสินค้าเพื่อให้ของขวัญพิเศษ เป็นการลด แลก แจก แถม ที่ทำให้มียอดขายเพิ่มมากขึ้น
  • กลยุทธ์ด้านบรรจุภัณฑ์ (Packaging Strategy)  หลัก สำคัญในการนำกลยุทธ์บรรจุภัณฑ์ มาใช้กับธุรกิจอื่นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อทำการออกแบบบรรจุภัณฑ์ก็คือต้อง มีความสวยงามโดดเด่นกว่าผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งเมื่อนำไปวางขายคู่ กันบนชั้นวางสินค้า ในส่วนของร้านค้าออนไลน์กลยุทธ์บรรจุภัณฑ์อาจเป็นเรื่องของการจัดส่งสินค้า รวมอยู่ด้วย เพราะถึงแม้จะมีกล่องพัสดุ กล่องไปรษณีย์หรือถุงบรรจุภัณฑ์ที่ใช้สำหรับการจัดส่งสินค้าขายอยู่แล้วก็ ต้องเลือกให้เหมาะสมกับขนาดหรือประเภทของสินค้ามีการหีบห่อที่เรียบร้อยสวย งาม เขียนรายละเอียดของผู้รับและผู้จัดส่งอย่างถูกต้องครบถ้วน สิ่งเหล่านี้สามารถสร้างความประทับใจและทำให้ลูกค้ามีทัศนคติที่ดี ต่อร้านค้าออนไลน์ที่สั่งซื้อสินค้าจนทำให้กลายเป็นลูกค้าประจำได้
  • กลยุทธ์ด้านการใช้พนักงานขาย (Personal Strategy)  การ ขายโดยใช้พนักงานนอกจากหวังผลลัพธ์เพื่อเพิ่มยอดขายแล้ว ในขณะเดียวกันก็ยังเป็นการสร้าง  สัมพันธภาพระยะยาวกับลูกค้าอีกด้วย กลยุทธ์การใช้พนักงาน ไม่ได้หมายความถึง การขายเพียงอย่างเดียว แต่ยังเกี่ยวข้องกับการจัดการทั่วๆไปอาทิเช่น การจ้างพนักงานขายรวมถึงการบริหาร  การเตรียมการเสนอขาย และการบริการหลังการขาย ในส่วนของร้านค้าออนไลน์กลยุทธ์การใช้พนักงานขาย วิธีการอาจแตกต่างไปจากธุรกิจอื่นเนื่องจากเป็นการขายสินค้าที่ผู้ซื้อและ ผู้ขายติดต่อซื้อขายกันผ่านโลกออนไลน์ พนักงานขายจึงเป็นคนที่ทำหน้าที่โพสตอบคำถามและให้ข้อมูลสินค้าแก่ลูกค้า เป็นหลัก การสอบถามข้อมูลสินค้าหากได้รับคำตอบช้าเกินไปก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ ลูกค้าขาดความเชื่อมั่นในการสั่งซื้อสินค้า
  • กลยุทธ์ด้านการให้ข่าวสาร (Public Strategy)  การ ให้ข้อมูลข่าวสารเป็นกลยุทธ์ที่มีความสำคัญและเหมาะกับยุคสมัยที่การติดต่อ สื่อสารถึงกันได้อย่างไร้พรมแดน สภาพแวดล้อมและการใช้ชีวิตของคนในสังคมมีเรื่องของอินเทอร์เน็ตมาเกี่ยวข้อง ด้วยทั้งสิ้นทำให้สามารถรับข้อมูลข่าวสารต่างๆได้อย่างรวดเร็ว รูปแบบการนำกลยุทธ์มาใช้โดยเฉพาะการขายสินค้าออนไลน์ การให้ข่าวสารเช่น การโพสประกาศ ฝากขายสินค้าตามเว็บลงประกาศฟรีซึ่งมีให้บริการอยู่มากมาย หรือต้องการให้ข้อมูลข่าวสารสินค้าที่ตรงกลุ่มเป้าหมายอาทิเช่นขายสินค้า แฟชั่นวัยรุ่น ขายผ้าห่มผ้าปูที่นอน อาจเลือกเว็บบอร์ดของมหาวิทยาลัยต่างๆที่ให้ลงประกาศฟรีเป็นการใช้กลยุทธ์ ที่ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
  • กลยุทธ์ด้านการใช้พลัง (Power Strategy)  นำ มาใช้กับร้านขายสินค้าออนไลน์มีหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่นการใช้อำนาจในการต่อรองเพื่อสร้างเครือข่าย โดยคนที่ต้องการสั่งซื้อสินค้าจากเราไปจำหน่ายต้องสมัครเป็นตัวแทนเท่านั้น เพื่อที่จะได้สั่งซื้อสินค้าในราคาขายส่ง หรือต้องสมัครเข้ากลุ่มตามประเภทของสินค้าในไลน์เพื่อนำรูปภาพของสินค้าแต่ ละประเภทที่มีการอัพเดททุกวันไปโพสขาย ในกรณีนี้เป็นการขายส่งสินค้า ส่วนการขายปลีกให้กับลูกค้าทั่วๆไปหน้าเว็บเพจรูปแบบการใช้กลยุทธ์พลังอาจมี การกำหนดราคาขายที่แตกต่างกัน เช่น สั่งซื้อสินค้าครบ 3 รายการคิดราคาพิเศษเป็นการต่อรองเพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์  ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ร้านค้าออนไลน์มียอดขายเพิ่มขึ้นส่วนของลูกค้าได้สินค้าในราคาที่ถูกลง
       ที่มา http://www.im2market.com/2014/10/11/54

SWOT คือ ? จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค

SWOT คือ ? จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค

SWOT คืออะไร ? หลักการบริหารงานทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน การประเมินและวิเคราะห์สถานภาพขององค์กรเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารเป็น สิ่งสำคัญและมีความจำเป็น เพราะนอกจากจะทำให้ผู้บริหารทราบถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นแล้ว การวิเคราะห์องค์กรยังเป็นการกำหนดกรอบการทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้โดยใช้ทฤษฎีที่เรียกว่า SWOT  มาเป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์swot
สำหรับนักธุรกิจออนไลน์อาจไม่คุ้นเคยกับคำว่า SWOT ซึ่งอาจไม่ทราบความหมายและไม่รู้ว่าจะนำมาปรับใช้อย่างไรกับธุรกิจออนไลน์ ความจริงแล้วคำว่า SWOT คือ กลยุทธ์หรือเทคนิคด้านการตลาดรูปแบบหนึ่ง มีความหมายมาจากอักษรย่อภาษาอังกฤษ 4 ตัวได้แก่
  • S หรือ Strengths หมายถึง ปัจจัยต่างๆภายในองค์กร ที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งหรือเป็นจุดแข็งขององค์กรที่จะนำไปสู่การได้เปรียบ คู่แข่งขัน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายใน เช่น จุดแข็งด้านการเงิน ด้านการผลิต ด้านทรัพยากรบุคคล ด้านคุณภาพของสินค้า นักธุรกิจออนไลน์ต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งเหล่านี้ในการกำหนดกลยุทธ์การ ตลาด
  • W หรือ Weaknesses หมายถึง ปัจจัยต่างๆภายในองค์กรที่ทำให้เกิดความอ่อนแอ หรือเป็นจุดอ่อน นำไปสู่การเสียเปรียบคู่แข่ง เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพภายในซึ่งนักธุรกิจออนไลน์จะต้องหา วิธีแก้ไขปัญหานั้นให้ได้
  • O หรือ Opportunities หมายถึง ปัจจัยต่างๆ ภายนอกองค์กรที่เอื้อประโยชน์ให้ซึ่งเป็นโอกาสที่ช่วยส่งเสริมการดำเนิน ธุรกิจ เช่น สภาพเศรษฐกิจที่ขยายตัว ข้อแตกต่างระหว่างจุดแข็งกับโอกาสในการทำธุรกิจก็คือ จุดแข็งเป็นปัจจัยที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในส่วนโอกาสนั้นเป็นผลจากสภาพแวด ล้อมภายนอก นักธุรกิจออนไลน์ที่ดีจะต้องเสาะแสวงหาโอกาสอยู่เสมอเพื่อใช้ประโยชน์จาก โอกาสนั้นในการเพิ่มยอดขาย
  • T หรือ Threats หมายถึง ปัจจัยต่างๆภายนอกองค์กรที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก นักธุรกิจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องและพยายามขจัดปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นให้หมดไป
จากความหมายของ SWOT คือมีที่มาจากอักษรย่อภาษาอังกฤษทั้ง 4 ตัว สรุปได้ว่า SWOT ก็คือ กลยุทธ์การตลาด 4 ด้านซึ่งได้แก่ จุดแข็งซึ่งเป็นจุดเด่นของธุรกิจ จุดอ่อนที่เป็นข้อเสียเปรียบของธุรกิจ โอกาส คือปัจจัยที่เอื้อประโยชน์ให้ดำเนินธุรกิจได้ตามแผนการตลาดที่กำหนดไว้ และด้านสุดท้ายก็คือปัญหาอุปสรรคที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ เมื่อทราบความหมายของ SWOT คืออะไรแล้วนั้นนักธุรกิจก็สามารถนำมา เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์เพื่อกำหนดแผนการตลาดให้สอดคล้องกับ ปัจจัยทั้ง4 ด้านได้อย่างลงตัวและสามารถประสบความสำเร็จในธุรกิจได้อย่างยั่งยืน

สรุปความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจ

สรุปความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจ
ภาคที่ 1 ธุรกิจและสิ่งแวดล้อม
บทที่ 1 ธุรกิจและระบบเศรษฐกิจ
    ลักษณะทั่วไปและความสำคัญของธุรกิจ
ธุรกิจมีอิทธิพลอย่างมากต่อชีวิตประจำวันและมีความจำเป็นต่อเศรษฐกิจ ทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์มีความต้องการเป็นพื้นฐาน และเพื่อขวานขวายให้ได้มาซึ่งสิ่งต่าง ๆ สำหรับมาบำบัดความต้องการของตนเองและครอบครัว จึงก่อให้เกิดกิจกรรม (Activities) ประเภทต่าง ๆ ที่ถือว่าเป็นธุรกิจขึ้น ธุรกิจจึงเกิดขึ้นโดยมีจุดมุ่งเพื่อจะบำบัดหรือสนองความต้องการของมวลมนุษย์ นั่นเอง
ธุรกิจเป็นพลังผลักดันที่ครอบคลุมไปทั่วสังคมของมนุษย์ เป็นที่ก่อให้เกิดการว่าจ้างแรงงาน เป็นแหล่งที่ใช้ทรัพยากรมากที่สุด เป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดรายได้และภาษีอากร ซึ่งแต่ละปัจจัยดังกล่าวนี้มีอิทธิพลที่จะก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจและ สังคม
ความสำเร็จของธุรกิจขึ้นอยู่กับความสามารถและความชำนาญของมนุษย์ตลอดจน สุขภาพและความคิดอ่าน เพราะพลังคนเป็นสิ่งสำคัญในการประกอบการ อย่างไรก็ตามธุรกิจต่าง ๆ นั้นมิได้ตั้งขึ้นแต่เพียงเพื่อแสวงหากำไรเท่านั้น หากยังได้ทำประโยชน์ให้กับสังคมโดยการจัดให้มีสินค้าและบริการสนองตอบความ ต้องการของสังคมด้วย

 ความหมายของธุรกิจและการประกอบ ธุรกิจ
คำว่า "ธุรกิจ" ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "Business" ซึ่งมาจากคำว่า Busy ที่แปลว่า ยุ่ง, วุ่น, มีงานมาก, มีธุระยุ่ง ดังนั้นธุรกิจจึงเป็นเรื่องที่จะต้องคิด ต้องแก้ปัญหา และต้องพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
ความจริงคำว่า ธุรกิจ นี้เป็นคำกลาง ๆ ไม่ได้หมายความว่าเป็นเรื่องของเอกชนหรือของรัฐบาล และกิจกรรมต่าง ๆ ที่กระทำกันโดยทั่ว ๆ ไปนั้นก็ถือว่าเป็นธุรกิจ เพียงแต่เวลาที่เราพูดถึงธุรกิจเรามักจะรับรู้ว่าเป็นเรื่องของเอกชน เป็นเรื่องของการมุ่งหวังกำไร เพราะฉะนั้นความหมายที่รับรู้กัน ณ วันนี้ก็คือว่า ธุรกิจเป็นเรื่องของกิจการที่เข้ามารับความเสี่ยง

 ความหมายของธุรกิจ (Business) หมายถึง กิจกรรมทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งมีความเกี่ยวพันในวงการของสถาบัน เพื่อที่จะจำหน่ายและให้บริการภายใต้กฎเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ โดยมีความสัมพันธ์กับบริการอื่นและกลุ่มผู้ทำงานร่วมมือให้บรรลุถึงจุดหมาย อันเดียวกัน คือ ความสำเร็จของหน่วยงาน

 การประกอบธุรกิจ หมายถึง การผลิตสินค้าและบริการ และการนำสินค้าและบริการนั้นมาจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค ฉะนั้นถ้าการผลิตสินค้าหรือบริการนั้น ๆ ได้ถูกนำมาใช้บริโภคเอง ไม่ได้นำไปขายหรือจำหน่ายจึงเรียกว่า การอุปโภคบริโภค (Consumption) ของตนเอง แต่ถ้าการผลิตสินค้าและบริการได้ถูกนำไปขายหรือจำหน่ายต่อไปจึงเรียกว่า การค้า (Commerces) / การประกอบธุรกิจ (Business Activities)
สรุปก็คือว่า ธุรกิจ เป็นกระบวนการดำเนินกิจกรรมทางด้านการผลิต การจำหน่าย และการให้บริการนั่นเอง

จุดมุ่งหมายของการประกอบธุรกิจ (Business Goals)
ผู้ประกอบธุรกิจแทบทุกประเภทมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญอย่างเดียวกัน คือ ต้องการกำไร แต่ธุรกิจไม่ควรมุ่งกำไรสูงสุด เพราะธุรกิจควรมีหน้าที่ในการรับผิดชอบต่อสังคมด้วย นอกจากนี้ยังมีธุรกิจบางอย่างที่ตั้งขึ้นมาโดยไม่มุ่งหวังผลกำไร เช่น กิจการไฟฟ้า ประปา การเดินรถประจำทาง โรงพยาบาล สถาบันการศึกษา เป็นต้น

   สรุป บรรดาผู้ประกอบธุรกิจมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญพอจะแยกได้ 2 ประการ คือ
1. มุ่งหวังกำไร (Profit Earning) ได้แก่ ธุรกิจของเอกชนทั่วไป
2. ไม่ได้มุ่งหวังกำไร (Social Prestige) ได้แก่ ธุรกิจประเภทสาธารณูปโภค (Public Utilities) และสาธารณูปการ (Public Services) ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นของรัฐบาล
ข้อสังเกต ในการดำเนินธุรกิจนั้น ผลต่างระหว่างรายได้และค่าใช้จ่ายทั้งหมด คือ กำไรหรือขาดทุนของธุรกิจนั่นเอง

บุคคลที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับ ธุรกิจ
บุคคลที่เข้ามาเกี่ยวข้องหลัก ๆ หรือเกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกิจ (Key Participants) นั้น อาจจำแนกออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
1. ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) คือ ผู้ที่ยอมทุ่มเทเวลา ความพยายาม และเงินทุน เพื่อเริ่มและดำเนินธุรกิจ โดยมุ่งหวังผลกำไรที่เกิดจากธุรกิจ เป็นผลประโยชน์ตอบแทนความเสี่ยงในการลงทุนทำธุรกิจ ซึ่งบางครั้งธุรกิจนอกจากจะไม่มีกำไรเป็นค่าตอบแทนความเสี่ยงแล้ว ยังอาจประสบกับภาวะขาดทุนด้วยก็ได้
ข้อสังเกต ผลตอบแทนความเสี่ยง (Risk) จากการลงทุนทำธุรกิจประเภทต่าง ๆ นั้น จะเป็นไปตามหลักการที่ว่า High Risk, High Returns กล่าวคือ ถ้ามีระดับความเสี่ยงต่ำผลตอบแทนก็มักต่ำ ถ้ามีระดับความเสี่ยงสูงผลตอบแทนก็มักจะสูง เช่น การซื้อล็อตเตอรี่มักจะมีความเสี่ยงสูง เพราะโอกาสที่จะถูกรางวัลมีน้อยมาก แต่ว่าถ้าถูกรางวัลใหญ่ ๆ แล้วผลตอบแทนจะสูงมาก เป็นต้น

2. ผู้ให้สินเชื่อ (Creditors) คือ ผู้ที่ให้เงินแก่ผู้ประกอบการกู้ยืมไปลงทุน โดยต้องการ
ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยและการส่งคืนเงินต้นจากกิจการ ซึ่งผู้ให้สินเชื่ออาจจะเป็นบุคคลหรือสถาบันการเงินก็ได้

3. พนักงานภายในองค์การธุรกิจ (Employees) คือ พนักงานทุกระดับนับตั้งแต่พนักงานระดับปฏิบัติการ
(คนงาน) หัวหน้างาน ผู้จัดการ จนกระทั่งถึงผู้บริหารระดับสูงของบริษัท (Chief Executive Officer : CEO) ซึ่งเป็นผู้ที่มีอำนาจและมีบทบาทมากในการสั่งการทุก ๆ อย่างภายในองค์การธุรกิจ
ข้อสังเกต โดยทั่วไป CEO มักจะเป็นประธานของบริษัท มีหน้าที่รับผิดชอบการกำหนดนโยบายและการวางแผนกลยุทธ์ภายในบริษัท

4. ลูกค้าของกิจการ (Customers) คือ บุคคลทั่วไปที่ให้การสนับสนุนกิจการโดยการซื้อ
สินค้าและบริการ กิจการทุกกิจการจะอยู่ไม่ได้เลยหากไม่มีลูกค้า ดังนั้นลูกค้าจึงเปรียบเหมือนหัวใจที่สำคัญที่สุดของกิจการ บางครั้งถึงขนาดมีการกล่าวกันว่า "ลูกค้าเปรียบเหมือนพระราชา" (Customers is the King) หมายความว่า เวลากิจการจะทำอะไรต้องยึดความพอใจของลูกค้าเป็นหลัก

ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา วิชาธุรกิจ
พอสรุปได้ว่า เมื่อได้ศึกษาและมีความรู้ทางธุรกิจแล้วจะทำให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียน คือ
1. เป็นผู้บริโภคและผู้ลงทุนที่ดี คือ การศึกษาถึงระบบธุรกิจจะทำให้ผู้ที่เป็นลูกค้าและผู้ลงทุนได้รับข้อมูลมาก ขึ้น เป็นผลให้เขาเหล่านั้นมีความฉลาดรอบรู้ที่จะตัดสินใจซื้อหรือจ่ายเงินเพื่อ ลงทุนมากขึ้นกว่าเดิม
2. เป็นลูกจ้างที่ดีขึ้น คือ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาธุรกิจจะช่วยให้เลือกอาชีพที่ถูกใจได้ดีขึ้น
3. ประโยชน์อื่น ๆ เช่น การได้รู้ซึ้งถึงสภาพอันแท้จริงของธุรกิจ ช่วยในการเริ่มต้นทำธุรกิจของตนเอง และช่วยในเรื่องของการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นต้น

 สาขาวิชาที่เกี่ยว ข้องกับธุรกิจ
การประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จจะต้องอาศัยความรู้ทางด้านต่าง ๆ ดังนี้ คือ
1. ด้านบัญชี (Accounting) 2. ด้านเศรษฐศาสตร์ (Economics)
3. ด้านสังคม (Sociology) 4. ด้านจิตวิทยา (Psychology)
5. ด้านการเมือง (Politic) 6. ด้านสถิติ (Statistic)
7. ด้านกฎหมายธุรกิจ (Business Law) 8. ด้านภาษาธุรกิจ (Business Knowledge)


เศรษฐกิจในรูปของธุรกิจเอกชน
เมื่อพูดถึงระบบเศรษฐกิจในรูปของธุรกิจเอกชน มีหลักสำคัญที่ต้องพิจารณาอยู่ 2 ประการ คือ
1. การเป็นเจ้าของในทรัพยากรการผลิต
2. ความมีโอกาสอย่างเสรีที่จะเลือกได้ตามความพอใจ

เนื่องจากการเป็นเจ้าของส่วนตัวในทรัพยากรการผลิต บางครั้งจึงเรียกระบบนี้ว่า ระบบทุนนิยม (Capitalism) หรืออาจเรียกว่า ระบบการประกอบกิจการเสรี (Free - Enterprise) เพราะประชาชนสามารถเลือกได้ว่าอะไรที่ตนจะทำ แต่ตามสภาพความเป็นจริงแล้ว เอกชนและผู้ประกอบการในระบบนี้ไม่ได้มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ต่อการที่จะเลือก ได้เองตามความพอใจ ดังนั้นจึงน่าจะใช้คำว่าการประกอบกิจการส่วนตัว (Private Enterprise) เหมาะสมกว่าที่จะใช้คำว่า ทุนนิยม หรือการประกอบกิจการเสรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy) เช่น ประเทศไทย เป็นต้น

   สิทธิขั้นพื้นฐานของระบบธุรกิจ เอกชน คือ
1. สิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติ (Right to Property Ownership)
2. สิทธิในการได้มาซึ่งผลกำไร หรือแรงกระตุ้นกำไร (Profit Incentive)
3. สิทธิในการแข่งขันซึ่งกันและกัน หรือโอกาสในการแข่งขัน (Opportunity to Compete)
4. สิทธิในการมีเสรีภาพในการเลือกและการตกลงทำสัญญา (Freedom of Choice and Contract)


ปัจจัยในการผลิต (Factor of Production)
กระบวนการบริหารงานที่ถือว่าเป็นหลักสากลนั้น จะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ ปัจจัยนำเข้า (Inputs) , กระบวนการ (Process) และผลลัพธ์ (Outputs) สำหรับการผลิตก็เช่นเดียวกัน ทั้งนี้โดยการผลิต (Production) หมายถึง กระบวนการ (Process) ในการแปลงสภาพวัตถุดิบ (Inputs) ซึ่งก็คือทรัพยากรให้เป็นผลผลิต (Outputs) คือ สินค้าหรือบริการตามความต้องการของผู้บริโภค

ปัจจัยในการผลิต ประกอบ ด้วย
1. ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resources) ได้แก่ ที่ดิน น้ำ ป่าไม้ แร่ธาตุ และพลังงานต่าง ๆ
2. แรงงาน (Labor) หมายถึง ทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ แรงงานฝีมือ แรงงานกึ่งฝีมือ และแรงงานไร้ฝีมือ
3. ทุน (Capital) หมายถึง โรงงาน เครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องจักร และเงินทุนที่ใช้ในการดำเนินงาน
4. ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) หรือการประกอบการ หมายถึง ความเต็มใจที่จะเสี่ยง รวมทั้งความรู้และความสามารถที่จะใช้ปัจจัยการผลิตอื่นอย่างมีประสิทธิภาพ

 สรุป ปัจจัยในการผลิตที่สำคัญก็คือ คน (Man) , เงิน (Money) , วัตถุดิบ (Material) , เครื่องจักร (Machine) และข้อมูลข่าวสาร (Information) ต่าง ๆ นั่นเอง

 ชนิดของระบบเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจ (Economic System) หมายถึง กลุ่มชนที่รวมกันเป็นกลุ่มสถาบันทางเศรษฐกิจ (Economic Institution) ที่มีแนวปฏิบัติคล้าย ๆ กันมาประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อบำบัดความต้องการของผู้บริโภค ในการศึกษาระบบเศรษฐกิจต้องอาศัยวิชาเศรษฐศาสตร์เข้าช่วย

เศรษฐศาสตร์ (Economics) หมายถึง ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความพอใจในความต้องการของมนุษย์ โดยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
คำถามพื้นฐาน 4 ประการ ที่ใช้ในการพิจารณาระบบเศรษฐกิจของประเทศ คือ
1. จะผลิตอะไร จำนวนเท่าไร
2. ผลิตอย่างไร
3. ผลิตเพื่อใคร
4. ใครเป็นเจ้าของและควบคุมปัจจัยหลักของการผลิต

ระบบเศรษฐกิจจะทำหน้าที่ตอบคำถาม พื้นฐานทั้ง 4 ประการ และจะเป็นตัวที่กำหนดการดำเนินการทาง เศรษฐกิจของสังคม โดยในปัจจุบันเราแบ่งระบบเศรษฐกิจออกเป็น 3 ระบบ คือ
1. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism)
2. ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน ซึ่งประกอบด้วย ระบบสังคมนิยม (Socialism) และระบบคอมมิวนิสต์ (Communism)
3. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy)

ระบบทุนนิยม (Capitalism)
เป็นระบบเศรษฐกิจที่เปิดโอกาสให้เอกชนมีเสรีภาพในการดำเนินการทาง เศรษฐกิจว่าจะผลิตอะไร ผลิตเท่าใด ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร โดยเอกชนจะมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและปัจจัยการผลิตต่าง ๆ รวมทั้งมีกรรมสิทธิ์ในสินค้าและบริการที่ผลิตได้
ระบบนี้รัฐบาลจะไม่เข้าไปมีส่วนยุ่งเกี่ยวหรือควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ถ้ามีก็มีน้อยที่สุด รัฐจะไม่แข่งขันกับเอกชน แต่เป็นผู้สนับสนุนเท่านั้น ทั้งนี้กลไกของตลาดจะเป็นตัวกำหนดของราคา กำไรเป็นสิ่งจูงใจสำคัญ นอกจากนี้สิ่งจูงใจที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การแข่งขันระหว่างกันอย่างเสรีทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคนั่นเอง

 ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน เป็นระบบที่มีการวางแผนมาจากรัฐบาลกลาง ประกอบด้วย
1. ระบบสังคมนิยม (Socialism) เป็นระบบเศรษฐกิจที่จำกัดเสรีภาพของเอกชน โดยรัฐบาลจะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตที่ใช้ในการผลิตขนาดใหญ่ และเป็นผู้ดำเนินการควบคุมการผลิตในกิจการที่สำคัญ ๆ ที่มีผลกระทบต่อคนทั้งประเทศ โดยพยายามที่จะจัดสรรรายได้ให้เท่าเทียมกันมากที่สุด ภายใต้ระบบนี้เอกชนอาจจะมีเสรีภาพในการประกอบธุรกิจขนาดเล็ก ๆ ได้ แต่รัฐจะเข้าไปควบคุมแทรกแซง และเป็นผู้กำหนดราคาสินค้าหรือบริการเอง

2. ระบบคอมมิวนิสต์ (Communism) เป็น ระบบเศรษฐกิจที่รัฐบาลจะถือกรรมสิทธิ์ในทรัพยากรทางเศรษฐกิจทั้งหมด เพื่อให้ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการผลิตสินค้าและบริการเป็นของประชาชนทั้ง มวล ในปัจจุบันประเทศที่ใช้ระบบคอมมิวนิสต์อย่างสมบูรณ์จริง ๆ นั้นไม่มีเหลืออยู่อีกแล้ว จะมีก็แต่ระบบสังคมนิยมที่มีการควบคุมอย่างเข้มงวดเท่านั้น คือ ยอมให้ทำการค้าเสรีได้บ้าง เป็นต้น
จุดอ่อนที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน คือ ภาคเอกชนขาดเสรีภาพในการผลิตและการบริโภค ทำให้ขาดแรงจูงใจในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินธุรกิจทุกอย่างต้องเป็นไปตามความต้องการของรัฐบาล นั่นเอง

 ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy)
เป็นระบบเศรษฐกิจที่ผสมกันระหว่างแบบทุนนิยมกับสังคมนิยม คือ รัฐจะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต และการผลิตขั้นพื้นฐานหรือโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) แต่เอกชนก็เป็นเจ้าของได้เช่นกัน ทั้งนี้รัฐอาจจะเข้าแทรกแซงกลไกทางการตลาดได้บ้างในบางกรณี เช่น เพื่อสวัสดิการของประชาชน เป็นต้น

  การวัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth)
 ความสามารถในการผลิต (Productivity) หมายถึง ระดับเฉลี่ยของผลผลิตต่อคนงานต่อชั่วโมง เป็นการวัดประสิทธิภาพของการผลิตสำหรับระบบเศรษฐกิจแต่ละระบบ การเพิ่มขึ้นของความสามารถในการผลิตเป็นผลจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เพราะทำให้แรงงานสามารถผลิตสินค้าและบริการได้จำนวนมากขึ้น

การวัดผลผลิตทางเศรษฐกิจแห่งชาติของแต่ละประเทศ ทำได้โดยใช้ผลิตภัณฑ์ ประชาชาติเบื้องต้น (Gross National Product หรือ GNP) ซึ่ง หมายถึง มูลค่ารวมของสินค้าและบริการทั้งหมดที่ผลิตโดยประชาชนประเทศนั้นในงวดเวลา ที่กำหนด (ปกติภายในระยะเวลา 1 ปี) และการที่จะวัดรายได้ประชาชาติ (GNP) ของประเทศใดสมควรใช้ GNP ต่อคน (GNP per Capita) จึงจะทราบถึงความเจริญเติบโตที่แท้จริง

นักเศรษฐศาสตร์อาจนิยมใช้ผลิตภัณฑ์ประชาชาติในประเทศเบื้องต้น (Gross Domestic Product หรือ GDP) ซึ่งหมายถึง มูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นได้ภายในประเทศในระยะ เวลา 1 ปี มาเป็นเครื่องวัดผลการดำเนินงานทางด้านเศรษฐกิจ คำนิยามของผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือ GDP นี้จะคล้ายกับ GNP มาก แต่มีข้อแตกต่างคือ GDP จะไม่รวมรายได้สุทธิจากต่างประเทศ

ชนิดของการแข่งขัน
ระบบตลาดเสรี (Free - Market System) แสดงให้เห็นการแข่งขันระหว่างผู้ขายสินค้าและทรัพยากร          นักเศรษฐศาสตร์แบ่งการแข่งขันในตลาดออกเป็น 4 ตลาด คือ

1. ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Pure Competition) เป็น สถานการณ์ทางตลาดที่มีผู้ซื้อและผู้ขายสินค้า ชนิดเดียวกันหลายราย แต่ไม่มีใครมีอิทธิพลมากพอที่จะควบคุมราคาสินค้านั้นได้ เพราะสินค้ามีลักษณะคล้ายคลึงกัน สามารถใช้ทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์ การเข้าสู่ตลาดหรือออกจากตลาดของผู้ผลิตเป็นไปโดยง่าย ตลอดจนผู้ซื้อและผู้ขายมีความรู้เกี่ยวกับตลาดเป็นอย่างดี ความจริงแล้วตลาดชนิดนี้ไม่มีอยู่จริงในโลก และถือเป็นเพียงตลาดในอุดมคติ (Ideal Market) เท่านั้น

2. ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic Competition) เป็น ตลาดที่มีสภาพใกล้เคียงกับความ เป็นจริงในปัจจุบันมากที่สุด คือ เป็นระบบตลาดที่มีผู้ขายจำนวนมาก โดยขายผลิตภัณฑ์แตกต่างกัน ทั้งนี้ในการเข้าสู่ตลาดหรือออกจากตลาดในระยะยาวจะค่อนข้างง่าย เช่น ระบบตลาดของไทย และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

3. ตลาดที่มีผู้ขายน้อยราย (Oligopoly) เป็น ตลาดที่มีผู้ขายตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป โดยทั่วไปเป็นผู้ขายรายใหญ่ ทั้งจำนวนเงินลงทุนและขนาดของกิจการ โดยอาจจะขายผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ เช่น ตลาดน้ำอัดลมของไทย เป็นต้น

4. ตลาดผูกขาด (Monopoly) คือ ตลาด (หรืออุตสาหกรรม) ที่มีผู้ขายเพียงรายเดียว โดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีผลิตภัณฑ์ใดทดแทนได้ เช่น การผลิตบุหรี่ของโรงงานยาสูบ การผลิตไฟฟ้า ประปา เป็นต้น

หน้าที่องค์การธุรกิจ (Business Function)
หน้าที่ขององค์การธุรกิจที่สำคัญ มีดังนี้
1. องค์การและการจัดการ (Organization and Management : O & M)
องค์การ (Organization) เป็นระบบการจัดการที่ออกแบบและดำเนินงานให้บรรลุวัตถุ-ประสงค์เฉพาะอย่าง หรือหมายถึง บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ทำงานร่วมกัน และประสานงานกัน เพื่อให้ผลลัพธ์ของกลุ่มประสบความสำเร็จ
การจัดการ (Management) เป็นกระบวนการเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์การ โดยใช้การวางแผน (Planning) การจัดองค์การ (Organization) การชักนำ (Leading) และการควบคุม (Controlling) มนุษย์ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ การเงิน ทรัพยากรข้อมูลขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

2. การผลิตและการปฏิบัติการ (Production and Operations) เป็น กิจกรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าและบริการ โดยผ่านกระบวนการแปรสภาพ (Conversion Process) จากปัจจัยนำเข้า (Input) เพื่อให้ออกมาเป็นปัจจัยนำออก (Output) เพื่อให้มีความสม่ำเสมอในการผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับการออกแบบทางวิศวกรรม โดยก่อให้เกิดผลเสียต่ำสุดและเกิดผลผลิตสูงสุดตลอดจนมีความรวดเร็วต่อการ ปรับเข้าหาความต้องการซื้อของลูกค้าได

3. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Management : HRM) เป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุ ประสงค์ขององค์การและเป้าหมายเฉพาะบุคคล

4. การตลาด (Marketing) เป็นกระบวนการวางแผนและการบริหารแนวความคิดเกี่ยวกับการตั้งราคา การส่งเสริมการตลาด การจัดจำหน่ายสินค้า บริการหรือความคิดเพื่อสร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยน เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของบุคคลและบรรลุเป้าหมายขององค์การ

5. การบัญชี (Accounting) เป็นขั้นตอนของระบบ การรวบรวม การวิเคราะห์และการรายงานหรือสรุปข้อมูลทางการเงิน หรือเป็นการออกแบบระบบการบันทึกรายการ การจัดทำรายงานทางการเงิน โดยใช้
ข้อมูลที่บันทึกไว้และแปลความหมายของรายการนั้น

6. การเงิน (Finance) เป็นการใช้กลยุทธ์ทางการเงิน เพื่อความอยู่รอด ความเจริญเติบโต และความคล่องตัวทางด้านการเงิน เพื่อให้เกิดกำไรสูงสุดและความมั่งคั่งสูงสุด หรือเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาเงินทุน และการใช้เงินทุนด้วยวิธีการที่ทำให้เกิดมูลค่าของธุรกิจสูง

7. ระบบสารสนเทศ (Information System : IS) หรือ ระบบสารสนเทศของกิจการ (Management Information System : MIS) เป็นระบบของกระบวนการข้อมูลที่ออกแบบเพื่อรวบรวม เก็บรักษา แยกแยะ และนำกลับมาใช้เพื่อสนับสนุนการวางแผน การตัดสินใจ การประสานงาน และการควบคุม

วงจรธุรกิจ (Business Life Cycle)
วงจรธุรกิจมีลำดับขั้นตอน 4 ขั้น ดังนี้
1. ขั้นเจริญรุ่งเรือง (Prosperity) เป็นขั้นตอนที่นักลงทุนนิยมลงทุนมากที่สุด เพราะเป็นขั้นที่ธุรกิจกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว
2. ขั้นถดถอย (Recession) เป็นขั้นที่การลงทุนโดยทั่วไปจะลดลง ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากธุรกิจมีการขยายตัวเต็มที่แล้ว
3. ขั้นตกต่ำ (Depression) เป็นขั้นที่ธุรกิจจำเป็นต้องลดการผลิตและลดการลงทุน เนื่องจากสินค้าขายไม่ออกและมีราคาต่ำจนผู้ผลิตขาดทุน
4. ขั้นฟื้นตัว (Recovery) เป็นขั้นที่ธุรกิจเริ่มฟื้นตัวและเข้าสู่ขั้นเจริญรุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่ง
ข้อสังเกต การดำเนินการทางธุรกิจในยุคปัจจุบัน ควรมุ่งเน้นในเรื่อง Feasible Profit คือ การทำกำไรเท่าที่สามารถจะทำได้หรือเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำและถดถอยในยุคปัจจุบันนั้น การประคองตัวให้ธุรกิจอยู่รอดก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว
เ Four Tigers (4 เสือเศรษฐกิจของเอเชีย) หมายถึง 4 ประเทศที่พัฒนาเศรษฐกิจสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (Newly Industrial Countries : NIC) ซึ่งได้แก่ เกาหลีใต้ (South Korea) , ไต้หวัน (Taiwan) , ฮ่องกง (Hong Kong) และสิงคโปร์ (Singapore)