วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

อัตราส่วนทางการเงิน ( financial ratio ) หมายถึงอะไร?

อัตราส่วนทางการเงิน ( financial ratio ) หมายถึงอะไร?

อัตราส่วนทางการเงิน (financial ratios) หมายถึง ตัวเลขที่วัดฐานะการเงินและเป็นตัวบ่งบอกจุดอ่อนจุดแข็งในการสร้างผลกำไรให้ กับธุรกิจ ตลอดทั้งเป็นตัวชี้วัดความสามารถในการบริหารงานว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด โดยการนำตัวเลขที่มีอยู่ในงบการเงินมาหาอัตราส่วนเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ
ประเภทของอัตราส่วนทางการเงิน
  1. อัตราส่วนแสดงสภาพคล่อง (Liquidity Ratios) ใช้สำหรับวัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นขององค์กรธุรกิจ หรือเมื่อหนี้สินที่มีอยู่นั้นถึงกำหนดชำระ
  2. อัตราส่วนหนี้สิน (Debtor Leverage Ratios) เป็นเครื่องมือวัดความมีส่วนร่วมในการจัดการบริหารเงินโดยเจ้าของกิจการเปรียบเทียบกับการการเงินโดยการกู้ยืมจากภายนอก
  3. อัตราส่วนความสามารถทำกำไร (Profitability Ratios) เป็นเครื่องวัดความสามารถในการบริหารงานของบริษัท ซึ่งจะแสดงในรูปอัตราผลตอบแทนจากการขาย และอัตราผลตอบแทนจากเงินลงทุน
  4. อัตราส่วนแสดงความสามารถในการดำเนินงาน (Activity Ratios or Efficiency Ratios) ในเป็นเครื่องวัดความสามารถในการบริหารเงินล่วงทุนว่า ธุรกิจได้ลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพียงใด
ประโยชน์ของการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน
  1. การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน ทำให้ทราบถึงประสิทธิภาพในการบริหารงานของกิจการ
  2. การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน สะท้อนให้เห็นถึงจุดแข็งจุดอ่อนในการดำเนินงานตามแผนของกิจการ
  3. สามารถนำข้อมูลของกิจการที่ได้จากการวิเคราะห์อัตราส่วนการเงิน มาปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานของกิจการให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ยิ่งขึ้น
สรุป การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินงานขององค์กร เพราะทำให้ผู้บริหารทราบถึงปัญหาและสามารถนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกับผลการ ดำเนินงานที่ผ่านมา เพื่อนำมาวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไข หรือพัฒนาการดำเนินงานขององค์กรให้ได้ผลการดำเนินงานตรงตามแผนงานหรือเป้า หมายที่กำหนดไว้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น