วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) คืออะไร?

เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) คืออะไร?

“เศรษฐศาสตร์” ประโยคที่หลายคนคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว ซึ่งความเป็นจริงคำว่าเศรษฐศาสตร์ เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนเราในทุกๆด้าน  เพราะเศรษฐศาสตร์คือศาสตร์แห่งการจัดการทรัพยากรอันมีจำกัด เป็นการพิจารณาวิเคราะห์รูปแบบหรือพฤติกรรมมนุษย์ในการบริหารทรัพยากร เพื่อตอบสนองความต้องการที่มีอยู่มากมายและไม่จำกัด
เศรษฐศาสตร์มหภาค
การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ถูกประยุกต์ใช้ครอบคลุมทั้งสังคมในด้าน ธุรกิจ การเงิน และรัฐบาล แม้แต่ทั้งด้านอาชญากรรม การศึกษา ครอบครัว สุขภาพ กฎหมาย การเมือง ศาสนา สถาบันสังคม สงคราม และวิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์จะถูกจำแนกออกตามเนื้อหาเป็นสองสาขาใหญ่ ๆ คือ  เศรษฐศาสตร์จุลภาค และ เศรษฐศาสตร์มหภาค
เศรษฐศาสตร์มหภาค คืออะไร
เศรษฐศาสตร์มหภาค คือเรื่องราวหรือพฤติกรรมทางเศรษฐกิจในระดับกว้าง ซึ่งเป็นเรื่องราวของเศรษฐกิจในระดับส่วนรวมของประเทศ ของภูมิภาค จนถึงระดับโลก เช่น การศึกษาเกี่ยวกับผลผลิตโดยรวมของประเทศ หรือรายได้ประชาชาติ การจ้างงาน ระดับราคา พฤติกรรมการใช้จ่ายอุปโภคบริโภคของครัวเรือน การนำเข้า ส่งออก ดุลการค้า
เศรษฐศาสตร์มหภาค จะสนใจเศรษฐกิจในภาพรวม ตัวอย่างเช่น อุปทานมวลรวมและอุปสงค์มวลรวม การว่างงาน เงินเฟ้อ การเติบโตของเศรษฐกิจ นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง
การเรียนรู้ในเรื่องเศรษฐศาสตร์ มีผลต่อความสำเร็จทั้งในแง่ของการดำเนินธุรกิจ หรือการดำเนินชีวิต หลักเศรษฐศาสตร์ช่วยทำให้เข้าใจสถานการณ์ปัญหาเศรษฐกิจและปรับตัวเข้ากับ สถานการณ์ได้
ช่วยให้สามารถซื้อหรือใช้ บริโภคสินค้าที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น