
เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) คืออะไร ?
เศรษฐศาตร์จุลภาค คำว่า จุล หรือ micro แปลว่า เล็กหรือส่วนย่อยเศรษฐศาสตร์จุลภาค จึงเป็นการศึกษาถึงกลไกที่ทำให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรแต่ละอย่าง แต่ละกิจกรรมของหน่วยเศรษฐกิจในสังคมมนุษย์ เศรษฐศาสตร์จุลภาคจึงเกี่ยวข้องกับเรื่องการผลิต การบริโภค สินค้าและบริการ และการจำแนกแจกจ่ายของแต่ละคน แต่ละกิจการ แต่ละอุตสาหกรรม และแต่ละตลาด
ปัญหาเศรษฐกิจ ได้แก่
- จะผลิตอะไร (what) ให้ตรงกับความต้องการของสังคมมากที่สุด โดยดูจากราคาและบริการของสินค้านั้นๆเป็นหลัก หากสินค้าและบริการใดมีคนต้องการมาก ราคาก็จะสูง แต่หากสินค้าและบริการใดไม่มีคนต้องการ ราคาก็จะต่ำตามกลไกตลาด เมื่อผู้ผลิตทราบถึงความต้องการของสินค้าและบริการแล้ว ก็จะมาคำนึงถึงต้นทุนของการผลิตว่าสามารถทำกำไรได้หรือจะขาดทุน
- จะผลิตอย่างไร (how) ผู้ผลิตส่วนใหญ่ต้องการผลกำไรของตนเองสูงสุด ซึ่งดูได้จากราคาขายสินค้าและบริการและราคาปัจจัยการผลิต ดังนั้นจึงต้องคำนึงว่าจะผลิตอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด โดยลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำที่สุด และได้ผลผลิตจำนวนมาก
- จะผลิตเพื่อใคร (for whom) วิเคราะห์ถึงเป้าหมายของกลุ่มลูกค้า จะมีราคาเป็นเกณฑ์ในการจัดสรรสินค้าและทรัพยากร คือ ผู้ที่มีรายได้มากย่อมมีอำนาจในการซื้อสินค้าและบริการมาก ภายใต้ขีดจำกัดของทรัพยากรทำให้ไม่สามารถสนองตอบความต้องการของผู้บริโภคและ ผู้ผลิตได้ทั้งหมด แต่หากมีคนต้องการมาก ราคาของนั้นๆก็จะสูงขึ้น จนกระทั่งความต้องการซื้อตรงกับความต้องการขาย ทำให้ของนั้นๆถูกจัดสรรไปยังผู้ที่ต้องการและมีรายได้พอที่จะซื้อสินค้า นั้นๆ
ระบบเศรษฐกิจ แบ่งเป็น 3 ระบบ
1. ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม/ทุนนิยม ระบบนี้ให้สิทธิ์เสรีภาพกับเอกชนในการดำเนินธุรกิจ โดยภาครัฐไม่เข้ามาแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจเลย โดยใช้กลไกตลาดเป็นเครื่องมือในการตัดสินปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
- ข้อดี : ระบบนี้เป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ระบบนี้จะขยายตัวเร็ว เพราะทุกคนสามารถเข้ามาในตลาดได้ เกิดการแข่งขันกัน และมีการซื้อ-ขายกันมากมาย
- ข้อเสีย : คนที่มีทรัพย์/ปัจจัยการผลิตมาก อาจหาผลประโยชน์โดยเอาเปรียบคู่แข่งขันหรือผู้บริโภคได้ ทำให้เกิดผลเสียด้านการกระจายรายได้และการจัดสรรทรัพยากร
- ข้อดี : ทุกคนมีความเสมอภาคกัน ทำอะไรเหมือนๆกัน และได้ผลประโยชน์เท่าๆกัน
- ข้อเสีย : ขาดเสรีภาพและแรงกระตุ้นในการทำธุรกิจ ส่งผลให้ธุรกิจนั้นๆโตช้า เพราะถึงทำไปก็ได้ประโยชน์เท่ากัน จึงทำให้ไม่มีใครมีความฝัน
ในระบบเศรษฐกิจต่างๆจะประกอบด้วยหน่วยเศรษฐกิจย่อยๆ ซึ่ง
หน่วยเศรษฐกิจที่สำคัญ แบ่งเป็น 3 หน่วย
- หน่วยครัวเรือน มีหน้าที่ ขายปัจจัยการผลิตให้แก่หน่วยธุรกิจ ซื้อสินค้าและบริการจากหน่วยธุรกิจ
- หน่วยธุรกิจ มีหน้าที่ ซื้อปัจจัยการผลิตจากครัวเรือน ขายสินค้าและบริการให้แก่ครัวเรือนและครัวเรือน
- รัฐบาล มีหน้าที่ ปกครองและบริหารประเทศให้คนในประเทศมีความสุข โดยนำเงินภาษีมาใช้ในการบริหาร ประเทศ ซึ่งภาษีนี้ก็มาจากการเก็บจากหน่วยครัวเรือนและหน่วยธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น